OCSC x NSO x DE


โครงการทุนฝึกอบรมเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศ (Strategy-based) ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันสำหรับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔:  หลักสูตรการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ สำนักงานสถิติแห่งชาติ

หลักการและเหตุผล

มาตรา ๑๓ (๙) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ บัญญัติให้ สำนักงาน ก.พ. มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับทุนเล่าเรียนหลวงและทุนของรัฐบาลตามนโยบายและ ระเบียบของ ก.พ. ตามมาตรา ๘ (๘) ในการจัดสรรทุนรัฐบาล เพื่อส่งบุคคลไปศึกษาวิชาต่าง ๆ จึงเป็นกลไก หนึ่งสำหรับ ก.พ. ในการวางแผนการเตรียมกำลังคนที่มีศักยภาพสูงภาครัฐในอนาคตให้สอดคล้องกับนโยบาย การบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการฝ่ายพลเรือน

เมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ได้มีการประกาศใช้ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๘๐) ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ชาติฉบับแรกของประเทศไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้ประเทศไทยบรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อความสุขของคนไทยทุกคน ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ประกอบด้วย ๖ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ (๑) ความมั่นคง (๒) การสร้างความสามารถในการแข่งขัน (๓) การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ (๔) การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทาง สังคม (๕) การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ (๖) การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ

อ.ก.พ. วิสามัญเกี่ยวกับการการบริหารจัดการกำลังคนคุณภาพของราชการ ในการประชุม ครั้งที่ ๘/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ได้มีมติเห็นชอบแนวทางและรายละเอียดการจัดสรรทุนรัฐบาลสำหรับการเตรียมและพัฒนากำลังคนภาครัฐระดับยุทธศาสตร์ (Strategy-based) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ และปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ โดยจัดสรรให้ส่วนราชการละ ๑๕ ทุน ในแต่ละด้านยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี รวมทั้งสิ้น ๙๐ ทุน และ อ.ก.พ. วิสามัญเกี่ยวกับการการบริหารจัดการกำลังคนคุณภาพของราชการในการประชุม ครั้งที่ ๙/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๖๓ ได้มีมติรับทราบส่วนราชการและโครงการที่ได้รับการจัดสรรทุนฝึกอบรมเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ประเทศ (Strategy-based) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔

ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันมีเป้าหมายการพัฒนาที่มุ่งเน้นการยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติ บนพื้นฐานแนวคิดที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ 

“เป็นองค์กรหลักของชาติในการบริหารจัดการระบบสถิติเพื่อการพัฒนาประเทศ” และ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 “บูรณาการ เชื่อมโยง แลกเปลี่ยนสถิติ ข้อมูลที่สำคัญ จำเป็นของประเทศให้มีคุณภาพ เพื่อเป็นไปตามมาตรฐานสากล” ตัวอย่างเช่น การจัดทำนามานุกรมบัญชีข้อมูลภาครัฐ การจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ เป็นต้น  กอปรกับ มาตรา ๑๓ (๙) แห่งพระราชบัญญัติระบบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ บัญญัติให้สำนักงาน ก.พ. มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับทุนเล่าเรียนหลวงและทุนของรัฐบาลตามนโยบายและระเบียบของ ก.พ. ตามมาตรา ๘ (๘) ในการจัดสรรทุนรัฐบาล เพื่อเตรียมกำลังคนที่มีศักยภาพสูงภาครัฐในอนาคตให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการฝ่ายพลเรือน ความสามารถด้านดิจิทัลเป็นทักษะสำคัญของบุคลากรภาครัฐบาลในการเปลี่ยนผ่านความสามารถในการพัฒนาและแข่งขันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

ดังนั้น การพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ คุณลักษณะด้านดิจิทัล สำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญที่ปฏิบัติงานสำนักงานสถิติแห่งชาติ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน เพื่อเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานสำหรับการขับเคลื่อน e-Service ในภาครัฐ อีกทั้ง ยังเป็นการส่งเสริมภารกิจด้านการพัฒนาการให้บริการประชาชน และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ โดยสำนักงาน ก.พ.ร. และ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) จะเป็นหน่วยงานหลักที่คาดว่าจะนำชุดข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อไป


วัตถุประสงค์โครงการ


แนวคิดการออกแบบหลักสูตร

ทุนฝึกอบรมเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศ (Strategy-based) ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันสำหรับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ ๒๕๖๔ ประกอบด้วย ๔ โมดูล ให้จัดการฝึกอบรมในประเทศด้วยรูปแบบผสมผสาน ทั้งในสถานที่ (On-site) และ/หรือ แบบออนไลน์ (Online) โดยนับวันฝึกอบรม รวมทั้ง ๔ โมดูล แล้วไม่เกิน ๑ เดือน (๓1 วัน) * ได้แก่

โมดูล ๑ การปรับและเสริมสร้างความรู้พื้นฐาน (Knowledge-based Building)

โมดูล ๒ การให้คำปรึกษาสำหรับข้อเสนอการปรับเปลี่ยนหรือพัฒนางานเชิงนวัตกรรม (Consultant Service)

โมดูล ๓ การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และการนำเสนอข้อเสนอการปรับเปลี่ยนหรือพัฒนางานเชิงนวัตกรรม (Knowledge Sharing and Project Proposal Presentation)

โมดูล ๔ การติดตามและประเมินผลโครงการ (Project Monitoring and Evaluation)


ประเด็นการเรียนรู้และพัฒนา

โมดูล ๑ การปรับและเสริมสร้างความรู้พื้นฐาน  (Knowledge-based Building) ประเด็นการเรียนรู้และพัฒนา ประกอบด้วย

(๑) Digital Transformation

(๒) การคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม

(๓) การเป็นผู้ประกอบการและการทำธุรกิจ Startup

(๔) การสร้างมูลค่าเพิ่มทางการท่องเที่ยวและบริการ

(๕) Software Architecture/Public Policy Data Analytics/System Thinking

(๖) กรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (Data Governance Framework)

(๗) ประเด็นการเรียนรู้และพัฒนาอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนโครงการ

 

โมดูล ๒ การให้คำปรึกษาสำหรับข้อเสนอการปรับเปลี่ยนหรือพัฒนางานเชิงนวัตกรรม (Consultant Service) ประเด็นการเรียนรู้และพัฒนา ได้แก่ การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดทำข้อเสนอการ ปรับเปลี่ยนหรือพัฒนางานเชิงนวัตกรรมทั้งข้อเสนองานเดี่ยวและข้อเสนองานกลุ่ม ไม่น้อยกว่า ๓ ครั้ง

 

โมดูล ๓ การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และการนำเสนอข้อเสนอการปรับเปลี่ยนหรือ พัฒนางานเชิงนวัตกรรม (Knowledge Sharing and Project Proposal Presentation) ประเด็นการเรียนรู้ และพัฒนา ได้แก่ การระดมสมองเพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองจากการเรียนรู้ รวมทั้งสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจาก โมดูล ๑ และโมดูล ๒ เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ พัฒนา และปรับปรุงงานที่รับผิดชอบเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน จำนวน ๑ ครั้ง

 

โมดูล ๔ การติดตามและประเมินผลโครงการ (Project Monitoring and Evaluation) สถาบันการศึกษาเป้าหมายจะดำเนินการการกำกับ ติดตาม และประเมินผลโครงการที่เป็นโจทย์ของแต่ละ ยุทธศาสตร์เพื่อรายงานสำนักงาน ก.พ. เป็นระยะ

วิธีจัดการเรียนรู้และพัฒนา

โมดูล ๑ การปรับและเสริมสร้างความรู้พื้นฐาน (Knowledge-based Building) เช่น การบรรยาย ในชั้นเรียน (Lecture) กรณีศึกษา (Case Studies) การอภิปรายกลุ่มย่อย (Small Group Discussion) การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) การศึกษาดูงานในหน่วยงานต้นแบบในประเทศ (Field Trip)

โมดูล ๒ การให้คำปรึกษาสำหรับข้อเสนอการปรับเปลี่ยนหรือพัฒนางานเชิงนวัตกรรม (Consultant Service) เช่น การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มและ/หรือรายบุคคล

โมดูล ๓ การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และการนำเสนอโครงการ (Knowledge Sharing and Project Proposal Presentation) เช่น การสะท้อนการเรียนรู้ (Reflection) การอภิปรายกลุ่มย่อย (Small Group Discussion) การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) การนำเสนอข้อเสนอโครงการ (Project Proposal Presentation)

โมดูล ๔ การติดตามและประเมินผลโครงการ (Project Monitoring and Evaluation)เช่น การโค้ช (Coaching) การให้คำปรึกษา (Consulting)

คุณสมบัติผู้เข้าอบรม

เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญของสำนักงานสถิติแห่งชาติ สังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จำนวน 15 คน

ช่วงเวลาและระยะเวลาอบรม

ช่วงเวลาจัดอบรม  ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๕

ระยะเวลาอบรม  ตั้งแต่โมดูล ใช้ระยะเวลารวม ๓๐ วัน (ดูตารางเรียนที่นี่)

รูปแบบการสอน

1. ในสถานที่ (On-site) และ/หรือ แบบออนไลน์ (Online) 

·      โมดูล 1 จัดในสถานที่ (On-site)

·      โมดูล 2 – 4 จัดรูปแบบออนไลน์ (Online)

2. Workshop 

3. เรียนรู้ผ่านวิทยากรมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์

4. Assignment and Discussion

เกณฑ์การประเมินผล

1. คะแนนร้อยละ 70 มาจากคะแนนการฝึกปฏิบัติงานเดี่ยว (ร้อยละ 40) และ งานกลุ่ม (ร้อยละ 30)

·      งานเดี่ยว รูปแบบ Poster + Report เกณฑ์การพิจารณา ความสมบูรณ์และถูกต้องของเนื้อหา การนำเสนอเข้าใจง่าย เวลาส่งงานตรงต่อเวลา

·    งานกลุ่ม (15 คน) รูปแบบ Slide + Report เกณฑ์การพิจารณา ความสมบูรณ์และถูกต้องของเนื้อหา การนำเสนอเข้าใจง่าย เวลาส่งงานตรงต่อเวลา

2. คะแนนร้อยละ 30 มาจากเวลาการเข้าเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของชั่วโมงการสอน

ผู้ประสานงานโครงการ

ผศ. ดร. ปารเมศ วรเศยานนท์ , ผู้จัดการโครงการ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

โทร: +66 0999-191-598

e-mail: parameth.vor@kmutt.ac.th

คณะทำงาน