สร้างเนื้อหาด้วยการเปรียบเทียบ
"CRAFT LAB: Make every technology commercialised"
สร้างเนื้อหาด้วยการเปรียบเทียบ
ผศ.ดร. ปารเมศ วรเศยานนท์
บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
เมื่อพยายามคิดหัวข้อและสโลแกนที่ดีแต่คิดไม่ออก วันนี้เลยจะมาลองพัฒนาเครื่องมือในการคิด โดยเรียกเครื่องมือนี้ว่า 'การคิดหัวข้อเนื้อหาแบบอุปมาอุปมัย' หรือการพัฒนาเนื้อหาและการเล่าเชิงเปรียบเทียบ
แนวคิด
การคิดหัวข้อหรือเนื้อหาด้วยการเปรียบเทียบจะเป็นการขยายความของคำที่จับต้องได้ยากให้สามารถรู้สึกและมีประสบการณ์ร่วมได้ เช่น ช้าเหมือนเต่า ร้อนเหมือนไฟ เร็วดังพายุ รุนแรงเหมือนสัตว์ป่า รวยเหมือนเจ้าสัว ง่ายเหมือนจับวาง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญหลายท่านได้กล่าวไว้ว่า อุปมาอุปมัยคือภาษาภาพ ที่ทั้งมองเห็นได้และสร้่างความรู้สึกได้
ลองคิดเล่นๆ
เย็น เหมือน ________________
สวย เหมือน ________________
เหนียว เหมือน ________________
ใส เหมือน ________________
เบา เหมือน ________________
ดังนั้นการพัฒนาเนื้อหาที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหัวข้อหรือสโลแกนที่มีคุณภาพการใช้การอุปมาอุปมัยจะทำให้เข้าใจได้ชัดเจนทั้งภาพและความรู้สึกว่าเนื้อหาที่หมายถึงอะไรและส่งความเข้าใจและความรู้อย่างไร
ตัวอย่าง 1
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้ใช้สโลแกน "ราบเรียบดุจแพรไหม (Smooth as silk)" ซึ่งเป็นข้อความที่เปรียบเทียบได้ว่าให้บริการการบินได้นุ่มนวลเหมือนแพรไหม ซึ่งจำง่ายและบอกจุดเด่นของการให้บริการ หรือสโลแกน การบินไทยรักคุณเท่าฟ้า อันนี้ความรักเปรียบเทียบด้วยฟ้าว่ายิ่งใหญ่ ซึ่งจำง่ายและเห็นภาพและรู้สึกได้ว่าใหญ่และเกี่ยวข้องกับบริการของบริษัทด้วย
ตัวอย่าง 2
IBM: From the blue dinosour to E-business animal เป็นการพาดหัวข่าวที่เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงองค์กรที่โบราณและสิ้นหวังสู่สัตว์นักล่าทางธุรกิจดิจิทัลอันทรงพลัง ซึ่งสร้างความน่าสนใจ และทำให้อยากติดตาม
ตัวอย่าง 3
"เศรษฐกิจไทย เผาจริงหรือเผาหลอก" เป็นหัวข้อเนื้อหาในยูทูปที่สร้างความน่าสนใจจากการเปรียบเทีัยบเศรษฐกิจไทย กับพิธีเผาศพของคนไทย ซึ่งทำให้คนไทยที่มีภูมิหลังและทราบถึงวิธีปฏิบัติทางศาสนาเกี่ยวกับการจัดการศพ สามารถเชื่อมและเข้าใจได้ทันที อย่างง่าย และรู้สึกถึงระดับความทุกข์ที่จะเกิดขึ้น
"สอนลูกเป็นเจ้าสัว ด้วยเงินแต๊ะเอีย" เป็นการเปรียบเปรยความรวยด้วยเจ้าสัว และจึงนำเรื่องที่จะสื่อมาเพื่อประกอบหัวข้อ
เครื่องมือช่วยคิด
สำหรับการเริ่มต้นคิดนั้นอาจจะยากหน่อยแต่ถ้าเริ่มต้นด้วย 3 องค์ประกอบข้อมูลนี้ก่อน ก็จะเป็นจุดเริ่มคิดได้ โดยสามองค์ประกอบนี้ประกอบด้วย
(1) การชัดเจนกับสินค้าก่อนสรุปเป็นข้อมูล (เนื้อหา/ข้อความ) ที่ต้องการสื่อ (ซึ่งมาจากการเข้าใจสินค้า บริการ หรือข้อความที่ต้องการนำเสนอ) ซึ่งอาจจะมาจากการถามคำถาม 4 คำถามนี้
กลุ่มผู้รับสารคือใคร
สินค้ามีจุดเด่นอะไร
สินค้าช่วยให้ลูกค้าเรามีชีวิตที่ดีขึ้นได้อย่างไร
ที่ไหนที่ลูกค้าใช้สินค้าเรา
(2) จินตนาการให้เป็นภาพที่รู้สึกหรือจับต้องได้ โดยเอาองค์ประกอบจากจุดเด่นมาเปรียบเทียบเป็นภาพ (ถ้าคิดภาพไม่ออกให้ลองค้นหาจากกูเกิลว่าถ้าคำแบบนี้ต้องใช้รูปภาพอะไร หรือค้นจากเว็บที่รวบรวมภาพอื่นๆ ได้เช่น Gettyimages.com) เช่น
กลุ่มผู้รับสารคือใคร: นักท่องเที่ยวที่มีกำลังทรัพย์ทั้งชาวไทยและต่างชาติ
สินค้ามีจุดเด่นอะไร: ความเป็นไทยเหมือนผ้าไหม (ต้มยำกุ้ง นายขนมต้ม หรือ แผงขายอาหารข้างทาง)
สินค้าช่วยให้ลูกค้าเรามีชีวิตที่ดีขึ้นได้อย่างไร: ความมั่นใจ (กล้ามใหญ่ ซุปเปอร์แมน เดินบนพรมแดง)
ที่ไหนที่ลูกค้าใช้สินค้าเรา: รถไฟฟ้า (แน่น โมเดิ้ล)
(3) นำเนื้อหาที่ต้องการสื่อเข้ามาเชื่อมกับองค์ประกอบที่เลือกพัฒนาเนื้อหาเชิงเปรียบเทียบ เช่นหาต้องการบอกว่า "ชาถุงของฉันเป็นชาที่มาจากข้าวหอมมะลิไทยแท้" ดัวนั้นเมื่อเอาคำถามทั้งสามอันมาใช้และเอาการเปรียบเทียบแต่ละส่วนมาประกอบจะได้เนื้อความดัวนี้
กลุ่มผู้รับสารคือ ______พนักงานออฟฟิสในกรุงเทพที่ชอบท่องเที่ยว__________
สินค้ามีจุดเด่นอะไร:
ทำจากข้าวหอมมะลิแท้ > ข้าวหอมมะลิ เหมือน __ทุ่งมะลิ___
เป็นสินค้าไทย > ความเป็นไทย เหมือน ___เสื้อม่อห้อม_หมวกจาก___
จากข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ทุ่งกุลาร้องไห้ เหมือน ___ความแร้งแค้น__รุนแรงของธรรมชาติ_____
สินค้าช่วยให้ลูกค้าเรามีชีวิตที่ดีขึ้นได้อย่างไร
ลดการสะสมของไขมัน ไขมัน เหมือน ____สิ่งแปลกปลอมที่อุดตันตามท่อ___
ทำให้เอาผลาญเร็ว เหมือน ___เครื่องจักร__
ผอม เหมือน __ผี ตะเกียบ__
สวย เหมือน ___นางฟ้า สาวเกาหลี___
ที่ไหน (หรือสถานการณ์ไหน) ที่ลูกค้าใช้สินค้าเรา
สวนหน้าบ้าน เหมือน ___ตลาด_______
ระเบียง เหมือน ___ความกว้างไกล________
สำนักงาน เหมือน ____คุก ชุมชนคนใส่สูท____________
ห้องประชุม เหมือน _____สนามประลอง___________
ดังนั้นเนื้อความอาจจะเลือกจากคำเปรียบเทียบมาขมวดกับเนื้อหาที่ต้องการส่งให้กับผู้รับสาร ซึ่งอาจจะรวมมาเป็น ชาข้าว (ยี่ห้อ) ชายอดนิยมของชุมชนคนใส่สูท เก็บทุ่งมะลิมาใว้ในซองชา ชาข้าวข้าว (ยี่ห้อ) จากทุ่งมะลิพร้อมเสริมในสนามประลอง ผลาญเร็วเหมือนเครื่องจักรสวยเหมือนสาวเกาหลี สูดกลิ่นมะลิจากระเบียงหน้าบ้าน ซึ่งเมื่อเรามาลองผสมคำแล้ว (ควรคิดไม่น้อยกว่า 20 เนื้อหา) ก็ค่อยมาคัดเลือกเนื้อหา/เนื้อความอันที่สามารถส่งความรู้สึกและความเข้าใจได้
ดาวโหลดเครื่องมือ
ท่านสามารถดาวน์โหลดเครื่องมือช่วยคิดได้ที่นี่
หากมีข้อคิดเห็นหรือเสนอแนะใดๆ ทักมาคุยกัหรือแอดมาเป็นเพื่อนกันที่ https://www.facebook.com/kmuttentrepreneurship/
หลักสูตรการจัดการการเป็นผู้ประกอบการ นวัตกรรม และความยั่งยืน (#EPM) เป็นหลักสูตรภายใต้การกำกับดูแลของบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม (#GMI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (#KMUTT)
สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ (02) 470-9799, (02) 470-9795-6, 084-676-5885
LINE : @GMIKMUTT
หรือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://gmi.kmutt.ac.th/th/study-with-us/epm/
สนใจสมัครได้ที่ https://bit.ly/GMI_Apply
CRAFT LAB เตรียมความพร้อมในการพัฒนานักวิจัยให้เป็นผู้จัดการผลิตภัณฑ์ที่สามารถมีทักษะและความรู้ที่ควรเป็น อย่างมีผลลัพธ์ สนใจทักมาคุยกับได้ที่ Line: @061jlshn หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
สำหรับท่านที่ต้องการต่อยอดความรู้ระดับ 'ปริญญาโท' ด้านความเป็นผู้ประกอบการนวัตรกรรมสามารถคลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
เพิ่มเราเป็นเพื่อนในเฟสบุ๊คเพื่อรับข่าวสารและข้อมูลต่อยอดความเข้าใจ
เรื่องที่น่าสนใจอื่น