แบรนด์ปิรามิดคืออะไร ทำไมต้องแคร์?

"CRAFT LAB: Make every technology commercialised"

LinkFacebookLinkYouTube

แบรนด์ปิรามิดคืออะไร ทำไมต้องแคร์?

ผศ.ดร. ปารเมศ วรเศยานนท์ 

บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 

ไฮไลท์


เพื่อให้สามารถเข้าใจแนวทางการพัฒนาตราสินค้าที่สร้างอรรถประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการ กรอบแนวคิด 'แบรนด์ปิรามิต' ถูกนำมาสร้างความเข้าใจในกระบวนการพัฒนาตราสินค้า โดยมี 4 ลำดับขั้น  อันได้แก่ (1) การสร้างเอกลักษณ์ของแบรนด์ (2) การให้ความหมายของแบรนด์ (3) การตอบสนองต่อแบรนด์ และ (4) การสร้างความผู้พันธ์ 

การสร้างเอกลักษณ์ของแบรนด์ (Brand identity)

เป็นกระบวนการในการพัฒนาองค์ประกอบของตราสินค้าและสินค้าหรือบริการแวดล้อมที่จะเป้นการสร้างความโดดเด่นหรือเอกลักษณ์ที่สำคัญ ซึ่งอันนี้เป็นพื้นฐานของแบรนด์ เอกลักษณ์แบรนด์ประกอบด้วย โลโก้ สี รูป องค์ประกอบและลักษณะสินค้าหรือบริการ พันธกิจ วิสัยทัศน์ คุณค่า สไตล์การสื่อสาร ตัวอักษร และจุดยืนของแบรนด์ ช่องทางสื่อสาร เนื้อหาในพื้นที่ต่างๆ


ในระดับนี้จะเกี่ยวข้องกับการตระหนักรู้ (ในมิติของสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้สินค้าหรือบริการของแบรนด์ และการตระหนักรู้ของแบรนด์ (ระดับชื่อแบรนด์ที่เข้ามาอยู่ในความคิด) กับการแก้ไขหรือจัดการปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ) รวมถึงการทราบว่าแบรนด์ของสินค้านี้อยู่ในกลุ่มสินค้าประเภทไหน


การให้ความหมายของแบรนด์ (Brand meaning)

ความหมายของแบรนด์คือองค์รวมของการสื่อสารและประสบการณ์ด้าน (1) สิ่งที่ได้รับจากองค์ประกอบสินค้า (Functional benefit/ Consequence of product attribute) (2) คุณค่าเชิงอารมณ์ที่ได้รับจากสิ่งที่ได้รับจากองค์ประกอบสินค้า หรือบริการ (Emotional benefit/value) (3) คำสัญญาของแบรนด์ หรือค่านิยมที่สำคัญของตราสินค้า (ฺBrand value) (4) บุคลิกและลักษณะนิสัยของแบรนด์ (เช่น ขี้่เล่น เปรี้ยว เป็นต้น) (6) ประวัติที่เกี่บวข้องของแบรนด์ (6) การเชื่อมโยงความคิดและประสบการณ์ (เช่น เชื่อมโยงแบรนด์กับคุณลักษณะสินค้า หรือกับประสบการณ์ที่ได้รับ) ไปสู่ตัวตนของแบรนด์


การตอบสนองต่อแบรนด์ (Brand response)

เป็นการพัฒนาความคิด (และการตัดสิน) และทัศนคติที่เกี่ยวกับแบรนด์ ผ่านการรับรู้และมีประสบการณ์กับองค์ประกอบสินค้าและประโยชน์ โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญได้แก่ (1)  ระดับความคาดหวังและระดับการตอบสนองต่อการคาดหวัง (Judgements) (2) ทัศนคติที่ดีต่อแบรนด์ (ความน่าเชื่อถือ การเหนือกว่าคู่แข่งในด้านใด) (3) ความชื่นชอบต่อแบรนด์ (4) ระดับความยากง่ายในการเข้าถึง และ (5) การตั้งใจซื้อ 


การสร้างความผู้พันธ์ (Brand Resonance)

เป็นระดับสูงสุดที่มีความผูกพันธ์เชิงอารมณ์ซึ่งจะนำไปสู่การจงรักภัคดี การซื้อซ้ำ การบอกต่อประสบการณ์ที่ดี หรือเป็นตัวแทนให้กับแบรนด์ในการแก้ข้อกล่าวหา การมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ การสร้างชุมชนคนรักแบรนด์ (ชื่อแบรนด์) ไว้ใจและให้อภัย 


จากการเข้าใจในกระบวนการในการสร้างแบรนด์ เราสามารถพัฒนาวัตถุประสงค์ในการพัฒนาแบรนด์ได้ใน 4 หมวดหลักดังนี้

หากมีข้อคิดเห็นหรือเสนอแนะใดๆ ทักมาคุยกัหรือแอดมาเป็นเพื่อนกันที่ https://www.facebook.com/kmuttentrepreneurship/ 


หลักสูตรการจัดการการเป็นผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม (#EPM) เป็นหลักสูตรภายใต้การกำกับดูแลของบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม (#GMI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (#KMUTT)


สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ (02) 470-9795-6, 084-676-5885

LINE : @GMIKMUTT

หรือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://gmi.kmutt.ac.th/master_program

สนใจสมัครได้ที่ https://bit.ly/GMI_Apply 

#GMI #KMUTT #EPM

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

สำหรับท่านที่ต้องการต่อยอดความรู้ระดับ 'ปริญญาโท' ด้านความเป็นผู้ประกอบการนวัตรกรรมสามารถคลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม

เพิ่มเราเป็นเพื่อนในเฟสบุ๊คเพื่อรับข่าวสารและข้อมูลต่อยอดความเข้าใจ

[กดที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อน]

เรื่องที่น่าสนใจอื่น