การวางแผนทางการเงินระยะยาวและการใช้เครื่องมือทางการเงินเพื่อการเติบโตขององค์กร
"CRAFT LAB: Make every technology commercialised"
การวางแผนทางการเงินระยะยาวและการใช้เครื่องมือทางการเงินเพื่อการเติบโตขององค์กร (Fundraising journey)
เรียบเรียงโดย ผศ. ดร. ปารเมศ วรเศยานนท์
บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ในแต่ละลำดับขั้นการเติบโตขององค์กรนั้น การวางแผนด้านแหล่งทุนในการเติบโตมีความจำเป็นในแต่ละระดับการเติบโตทั้งจากสตาร์ทอัพ บริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก หรือบริษัทที่พร้อมเข้าสู่คลาดทุน รวมถึงแหล่งทุนหลังเข้าสู่ตลาดทุน บทความนี้จะคลอบคลุมแหล่งทุนและเครื่องมือทางการเงินเพื่อสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจ
วัตถุประสงค์ในการจัดหาเงินทุนเพื่อการเจริญเติบโตระยะยาวของกิจการ
โดยพื้นรฐานแล้ววัตถุประสงค์ในการจัดหาเงินทุนเพื่อการเจริญเติบโตระยะยาวของกิจการประกอบด้วย 3 ด้าน อันได้แก่
เงินทุนต้องพอเพื่อการเติบโตในระยะยาว (5-10 ปี)
โครงสร้างทางการเงิน (อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ) เหมาะสมหรือไม่ (เช่น DE สูงเกินไปหรือไม่ หรือใช้หนี้น้อยเกินไป)
ส่วนมากดู 2 อัตาส่าวนที่สำคัยอันได้แก่ DE (Debt to Equity ratio) และ ROE (Return on equity)
ทั้งสองส่วนมีความสัมพันธ์กัน เช่น ถ้ามีสัดส่วนในพนี้สินที่เยอะ ROE จะดีเนื่องจากใช้สัดส่วนของผู้ถือหุ้นน้อย หาก DE มากเกินไปอาจจะเห็นว่าหนี้สินเยอะเกินไปและหาเงินคืนไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องดูโครงสร้างทางการเงินให้ดี
เพิ่มความมั่งคั่งให้กับผู้ถือหุ้น ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หลักขององค์กรโดยทั่วไป
แนวทางการระดมทุนของบริษัท
แนวทางการระดมทุนของบริษัทจะพิจารณาจากโครงสร้างและต้นทุนการเงินระยะยาวที่เหมาะสมของบริษัท ต้นทุนเงินที่แข่งขันได้ ช่วยให้บริษัทเติบโตอย่างยั่งยืนและสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ในระยะยาว และคำถึงถึงผลกระทบของผู้ถือหุ้น ซึ่งหากพิจารณาปัจจัยสำคัญในการเลือกเครื่องมือทางการเงินเหล่านี้แล้ว จะสามารถพิจารณาทางเลือกของแนวทางการระดมทุนเพื่อการเติบโตได้ ซึ่งแนวทางการระดมทุนมีหลายทางเลือก ดังนี้
กระแสเงินสดภายมใน จากการทำมาหาได้ของบริษัท (Internal cashflow)
จัดหาเงินทุนจากสินเชื่อ (ต้นทุนทางการเงินต่ำสุด)
การจัดหาสินเชื่อโครงการ (Project finance)
การกู้ยืมทั่วไป (Corporate finance)
การกู้เยืมเงินทุนหมุนเวียน (Working capital finance)
การเสนอขายตราสารหนี้ (Corporate bond)
ระดมทุนจากสินทรัพย์ของบริษัท (Monitized Assets) (เอาหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินไปขายให้นักลงทุนและนำเงินมาก่อนเพื่อนำเงินมาลงทุน)
กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure fund: IFF)
ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Investment Trust: REIT)
การขายทรัพย์สินและเช่ากลับ
การจัดหาเงินทุนจากส่วนทุน
เงินทุนจากเจ้าของ
Right offering (RO)
การเสนอขายใบแสดงสิทธิ์ในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิืได้
Private placement (PP), Private Equity, Venture capital, strategic investor
Initial public offering (IPO)
การเสนอขายหุ้นสามัญแบบผสม เช่น Preferential public offering
เส้นทางการลงทุน: เครื่องมือทางการเงินก่อน IPO (ระดับ 1 และ 2)
ช่วงเริ่มต้น (Start-up) (ระดับ 1)
เนื่องจากมีแค่ความคิดแต่ยังไม่มีข้อพิสูจน์ใดๆ ดังนั้นแหล่งเงินทุนหลักจะมาจาก
เงินของเจ้าของ (และหรือครอบครัว คนใกล้ชิด) (Owner's round)
ในกรณีนี้เงิยลงทุนที่เจ้าของหรือคนใกล้ชิดลงจะลงที่ราคา PAR ของหุ้น
สินเชื่อจากธนาคาร (เป็นรูปแบบต้นทุนที่ถูกที่สุด ยังไงต้องถามธนาคารหลายแห่ง)
ช่วงเติบโต (ระดับ 2)
เมื่อธุรกิจเริ่มมีการเติบโตจะมีรูปแบบทางการเงินจากธนาคารหลายรูปแบบมากขึ้น ดังนี้
สินชื่อประเภทต่างๆ เช่น Coporate finance (เงินกู้), Project finance (เช่น ทำโรงไฟฟ้า), Working capital finance (เช่น ธุรกิจซื้อมาขายไป)
จัดหาเงินจาก นักลงทุนรายใหญ่ Private equity (กองทุน/สถาบัน) / Venture capital* (เหมาะกับธุรกิจที่มีความเสี่ยนงหรือที่ธนาคารไม่ค่อยปล่อย เนื่องจขากเป็นความเสี่ยงที่ธนาคารยังประเมินไม่ได้)
ถ้าสินค้าหรือบริการดีจะได้ราคาที่สูงกว่าราคา PAR (Seed/angel round)
หากมีของดีแต่ยังมีการขาดทุนอยู่าบ้างอาจเข้าสู่ Series A, B, C, D ซึ่งการประมินมูลค่าต้องมากกว่าราคา PAR มากขึ้น
Convertible debenture (หุ้นกู้แปลงสภาพ)
Strategic partnership
IFF/REIT (หากโครงการมีกระแสเงินสดมั่นคงและแน่นอน)
*ข้อควรพิจารณาในการระดมทุนผ่าน venture capital/private equity
การประเมินมูลค่า: เงินที่ได้จาก VC หรือ Private equity เพียงพอหรือไม่ Dilution effect กับการถือหุ้นเจ้าของ และ Voting right ของ VC หรือ private equity
Management value added (การเพิ่มมูลค่าในมิติของการจัดการที่ดีขึ้น) คือการที่มีผู้ถือหุ้น จาก VC หรือ Private equity มีการให้ประโยชน์อะไรให้กับกิจการ เช่น ผู้ถือหุ้นที่มาจากธนาคารก็จะช่วยเรื่องลูกค้า กับการควบคุมการให้เงินจะดี และกระบวนการตัดสินใจของกิจการจะได้รับผลกระทบอะไรบ้างจากการลงทุน
ใครคือนักลงทุน: VC หรือ Private equity เหล่านี้มีประวัติความเป็นมาอย่างไร ใครคือผู้จัดการกองทุน นักลงทุนส่วนใหญ่เป็นใคร เป็นการฟอกเงินหรือเงินที่มาลงทุนมีที่มาถูกต้องหรือไม่
โครงสร้างและเงื่อนไขการลงทุน
การประเมินมูลค่าหุ้น กับการให้หุ้นพนักงาน ถ้าอยู่ในช่วงใกล้กับระวัง 'ความแตกต่างของราคา' กระทบต่อกำไรขาดทุนของบริษัทได้
Share premium (ราคาสูงกว่าราคา PAR) vs Future Dividend: เกี่ยวข้องกับการขาดทุนสะสมที่จะนำมาสู่ความล่าช้าในการจ่ายเงินปันผลในอนาคต (อาจแก้ได้จากการเปลี่ยนเป็นบริษัทมหาชนเพื่อลด Share premium ลง และจะได้สามารถจ่านเงินปันผลได้เร็วขึ้น)
Special rights ก่อนเข้า IPO: สิทธิพิเศษของนักลงทุนต้องพิจารณาก่อนเข้า IPO ต้องจัดการให้ดี
การเปลี่ยนจากหุ้นบุริมสิทธิ์เป็นกหุ้นสามัญ: ต้องแปลงมาเป็นหุ้นสามัญให้หมดจะได้สามารถจัดการได้มากขึ้น
ควรมีนักกฎหมายที่จะช่วยดูแลมิติเหล่านี้ได้มากขึ้น
การระดมทุนผ่านการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (IPO) (ระดับ 3)
เครื่องมือการระดมทุนเพื่อการเติบโตระยะยาว (ระดับ 3)
เมื่อกู้ต่อไม่ไหวจากแหล่งเงินในสองส่วนแรก (ระดับ 1 และ 2) (เมื่อกู้เต็มเพดานจากแหล่งอื่นและแต่ยังเห็นการเติบโต) ให้ระดมทุนจากตลาด (IPO)
ใช้สินเชื่อ (Debt financing)
กระบวนการในการเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์
การเข้าสู่ตลาดทุนจากธุรกิจที่เติบโตขึ้นมาหรือธุรกิจครอบครัวที่ต้องการจะสร้างความยั่งยืนของธุรกิจ (เนื่องจากการนำผู้มีประสบการณ์เข้ามาบริหาร ให้เป็นระบบ ระเบียบตามกฎระเบียบตลาดหลักทรัพย์ มีโครงสร้างทุนที่แข็งแกร่ง เช่น การตั้งกงสี (Family holding) ซึ่งจะมีธรรมนูญครอบครัวเพื่อมาดูแลว่าลูกหลานจะได้ผลประโยชน์อย่างไร และการจัดการครอบครัว)
ถูกบังคับให้เข้าตลาดทุนเนื่องจากต้องสร้างความน่าเชื่อถือเพื่อทำการค้ากับธุรกิจขนาดใหญ่หรือธุรกิจระหว่างประเทศ เพราะหลายครั้งธุรกิจที่จดทะเบียนทั่วไปของประเทศไทยไม่ได้รับความน่าเชื่อถือ จึงจำเป็นต้องเข้าตลาดหลักทรัพย์เพื่อใช้กลไกด้านการเปิดเผยข้อมูลและการอยู่ในการกับกับดูแลของกฎหมาย จึงจะสามารถเข้าสู่ตลาดระหว่างประเทศหรือมีคู่ค้าที่ทำธุรกิจด้วยได้
การเข้าสู่ตลาดทุนค่อนข้างมีต้นทุนสูง
กระบวนการ IPO ประกอบด้วย ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก อันได้แก่
การเตรียมความพร้อม: การเตรียมเอกสาร ระบบควบคุมภายใน งบการเงิน และคุณสมบัติอื่นๆ และอัพเดทการตรวจสอบข้อมูลและอัพเดทเอกสารที่เกี่ยวข้องให้เป็นปัจจุบัน โดยมีขั้นตอนการเตรียมตัวสดังนี้ (ใช้เวลาประมาณ 9-11 เดือน)
การบริหารจัดการที่มีมาตรฐาน (ตามมาตรฐานบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เช่น การมีกรรมการ การมีกรรมการชุดย่อย การตรวจสอบ)
งบการเงินถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด*
งบการเงินควรยื่นตามเกณฑ์ขั้นต่ำดังนี้
การเสนอขายในประเทศและยื่นก่อนปิดปีบัญชี 2565 ให้ใช้ข้อมูลย้อยนหลัง 3 ปี ตามมาตรฐานการตรวจสอบ Audit PAE (Publicly Accountable Entities) และ Audit NPAE (Non-Publicly Accountable Entities) ได้
การเสนอขายในประเทศและยื่นปิดบัญชีหลัง 2565/ต่างประเทศ ใช้ข้อมูลย้อยนหลัง 3 ปี ตามมาตรฐานการตรวจสอบ Audit PAE (Publicly Accountable Entities) เท่านั้น
หากมีการปรับโครงสร้างควรมีการทำ 'งบการเงินล่วงหน้า' (Pro Forma Financial statement)
บริษัทต้องสามารถปิดงบการเงินได้ตรงตามระยะเวลาที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด (โดยปรกติแล้ว 45 วันหลังจากปิดไตรมาส)
ระวังเรื่องรายการระหว่างกัน/รายการที่เกี่ยวโยงกัน
ระบบควบคุมภายในที่มีมาตรฐานเทียบเท่าหรือมากกว่าบริษัทที่จดทำเบียนในตลาดหลักทรัพย์อื่น* (เช่น การวางแผนภาษีอากรที่เกิดจากการปรับโครงสร้าง การขจัดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (โครงสร้างการถือหุ้นที่สอดคล้องกับกฎ ระเบียบ) การประเมินและปรับปรุงระบบควบคุมภายใน รายงานผลการตรวจสอบภายใน การปรับโครงสร้างที่มีต้นทุนเหมาะสม)
ควรมีการจ้างระบบที่ปรึกษาระบบควบคุมภายใน (Internal control advisor หรือ IA) มาช่วยดำเนินการในช่วงแรก และค่อยพัฒนากรรการการและกลไกการควบคุมภายในขึ้นมา
กระบวนการควบคุมภายในสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ ก่อนนำส่งคณะกรรมการตรวจสอบประเมินระบบควบคุมภายใน ดังนี้
IA ประเมินระบบควบคุมภายในเบื้องต้น และให้คำแนะนำบริษัทในการปรับปรุงระบบควบคุมภายใน
บริษัทดำเนินการปรับปรุงระบบควบคุมภายในตามที่ IA แนะนำ
IA ประเมินระบบควบคุมภายในครั้งที่ 2 และออกรายงานการควบคุมภายใน
นำรายงานการควบคุมภายในส่งคณะกรรมการตรวจสอบประเมินระบบควบคุมภายใน
หมายเหตุ:
กระบวนการทั้งหมดก่อนส่งรายงานให้กับคระกรรมการจะมีคณะกรรมการตรวจสอบและหน่วยงานตรวจสอบภายในคอยช่วยกำหกับดูแล)
FA มีหน้าที่การประสานและสอบรายงานของ FA โดยมีกรอบในการสอบทานอยู่บนพื้นฐาน 4 ด้าน ดังนี้
Separation of Duties เช่น แยกบุคลากรฝ่ายนบัญชีกับการเงิน และแยกบุคลากรฝ่ายจัดซื้อและรับสินค้า เป็นต้น
Timeliness (มีตารางเวลาที่เหมาะสม)
Auditable
Properly authorized
เรื่องอื่นๆ
การมีการประเมินและตรวจสอบข้อมูลที่ถูกต้อง
การสัมภาษณ์ผู้บริหาร และการจัดทำแผนธุรกิจรวมถึงการพยากรณ์ทางการเงิน
การประเมินมูลค่าและรายงานมูลค่าเบื้องต้นของบริษัท
Corporate formality: การนัดประชุมคณะกรรมการบริษัท และผู้ถือหุ้น การจัดเตรียมรายงานการประชุมคณะกรรมการบริษัทและที่ประชุมผู้ถือหุ้น แต่งตั้งคณะกรรมการบริาัท กรรมการอิสระและกรรมการชุดย่อยต่างๆ รวมถึงการแปรงสภาพเป็นบริาัทมหาชนและการอนุมัติที่เกี่ยวข้อง
การจัดเตรียม Filing และเอกสารยื่น ก.ล.ต. และ ตลท. เช่น Filing (69-1) และ เอกสารประกอบการขออนุญาตต่อ ก.ล.ต. และ ตลท.
การร่างหนังสือชี้ชวนและเอกสารการขายต่างๆ
การจัดการโครงสร้างกลุ่มให้เหมาะสม
โครงสร้างบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ควรเป็นไปตาม ทจ. 39/2559 (ก. ควรรวมบริษัทที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักทั้งหมดเข้ามารวมอยู่ในกลุ่มของบริษัทที่เข้าจดทะเบียน ข. บริษัทที่มีบริษัทย่อยควรถือบริษัทย่อยดังกล่าว 100% ยกเว้นมีเหตุผลที่สามารถอธิบายได้ ค. ไม่มีการถือหุ้นไข้ว) และกฎเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้อง
ขั้นตอนสำคัญในการปรับโครงสร้าง: ก. ระบุกลุ่มธุรกิจและบริษัทที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ข. ระบุบริษัท Flagship หรือบริษัท Holding ที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ค. ดำเนินการร่วมกับที่ปรึกษาทางการเงิน ที่ปรึกษากฎหมาย ที่ปรึกษาภาษีในการออกแบบและดำเนินการตามขั้นตอนในการปรับโครงสร้าง โดยใช้บริษัท Flagship ดำเนินการซื้อบริษัทต่างๆ เข้ามาเป็นบริษัทย่อย
กระบวนการพิจารณาคุณสมบัติของ ก.ล.ต.: กระบวนการพิจารณาของ ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์รวม 165 วัน (120+45 วัน) โดยมีกระบวนการหลักๆ ได้แก่ การตรวจสอบเอกสาร การเยี่ยมชมกิจการของ ก.ล.ต. และ ตลท. ก.ล.ต. อนุมัติคำขอขายหุ้นเพิ่มทุน และ ตลท. อนุมัติรับหุ้นสามัญของบริษัทเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน
กระบวนการเสนอขายหุ้น IPO (Placement process): การทำการตลาดสำหรับหุ้น IPO กระบวนการกำหนดราคา IPO (** ราคาหุ้นที่ดีเมื่อเข้าตลาดแล้วราคาขึ้น 10-20%) และ Aftermarket support ตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์และ ก.ล.ต. (ใช้เวลาประมาณ 6+6 เดือน)
กระบวนการเสนอขายหุ้น IPO (Placement process) ประกอบด้วยกระบวนการสำคัญ ดังนี้
จัดเตรียม Equity story และการวาง Position ของบริษัท
ประมาณการความต้องการและระบุกลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย
จัดสรรหุ้นให้แก่นักลงทุนกลุ่มต่างๆ อย่างเหมาะสม
การจัดเตรียมเอกสารการตลาดและการขาย
การทำ Road show และการเตรียมการตลาด
การปิดบัญชีกำหนดราคาเสนอขาย
กลยุทธ์ในการเสนอขายหุ้นให้ประสบความสำเร็จ มี 4 ขั้นตอน ได้แก่
ระบุความน่าสนใจของบริษัท
แผนธุรกิจและตำแหน่งทางการตลาดที่ชัดเจน
ผลการดำเนินการที่แข็งแกร่ง
แนวโน้มการเติบโตสูง
คณะผู้บริหารมีประสบการณ์ในอุตสาหกรรม
การประเมินความต้องการและกำหนดกลุ่มเป้าหมาย (แต่ละกลุ่มเป้าหมายมียโยบายการลงทุนไม่เหมือนกัน)
กำหนดกลุ่มนักลงทุนเป้าหมายแต่ละประเภท ทั้งนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายย่อย
การวิเคราะก์ความต้องการของนักลงทุน
การพิจารณาช่วงเวลาเสนอขายที่เหมาะสม
สัดส่วนการเสนอขาย และการกระจายหุ้นสำหรับกลุ่มนักลงทุนแต่ละกลุ่ม ประเมินข้อพิจารณาและแนวทางลดความกังวลจากนักลงทุน
กลยุทธ์ทางการตลาดและแผนเสนอขาย
การจัดทำการตลาดกับนักลงทุนสถาบัน (Pre-marketing)
นำทีมผู้บริหารโรดโชว์ เพื่อนำเสนอข้อมูลให้แก่นักลงทุนรายหลัก (Anchor account)
จัดทำการการตลาดสำหรับนักลงทุนรายย่อย
นำเสนอข้อมูลผ่านสื่อ ทั้งสื่อหลัก สื่อรอง และสื่อออนไลน์
โครงสร้างการเสนอขายหุ้นที่เหมาะสม
แผนการประชาสัมพันธ์หุ้นของบริษัท รวมทั้งแผนการตลาดและสื่อโฆษณาต่างๆ
บริการสนอบสนันสนุนหลังเข้าตลาดหลักทรัพย์
ออกบทวิเคราะห์หมุ้นอย่างต่อเนื่อง
การจัดทำโดรโชว์แบบ non-deal
การจัดการประชุมกับผู้จัดการกองทุนรายใหญ่ทั้งในและต่างประเทศ
ความสำเร็จในการกระจายหุ้น
ตลาดแรก: หุ้นได้รับการซื้อทั้งจำนวน การจัดสรรหุ้นได้อย่างเหมาะสมกับกลุ่มนักลงทุน ราคาหุ้่นอยู่ในระดีบสูง และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่องค์กร
ตลาดรอง: มีสภาพคล่องเพียงพอในการซื้อขายหุ้น
ราคาหุ้นเพิ่มอย่างมีเสถียรภาพ
ขั้นตอนแห่งความสำเร็จในการได้ราคาหุ้นสูง
การวิเคราะห์ภายใน: ผ่านการตรวจสอบสถานะของกิจการและการร่างหนังสือชี้ชวน การวิเคราะห์งบการเงินบริษัท ร่วมมือกับฝ่ายการเงินบริาัทในการจัดทำประมาณการทางการเงินและประเมิืนมูลค่ากิจการด้วยวิธีประเมินรูปแบบต่างๆ) โดยผลลัพธ์ที่คาดหวังคือที่ปรึกษาทางการเงินพิจารณากำหนดช่วงราคาหุ้นเบื้องต้น
บทวิเคราะห์: ผ่านการบรรยายสรุปให้แก่นักวิเคราะห์ นักวิเคราะห์ประเมินมูลค่ากิจการและประมาณการทางการเงิน การวิเคราะห์ภาพรวมของอุตสาหกรรม การเปิดเผยบืวิเคราะห์ต่อสาธารณาเพื่อให้ยักลงทุนเข้าถึงข้อมูล โดยผลลัพธ์ที่คาดหวังคือนักวิเคราะห์ให้ข้อมูลแก่นักลงทุน
การให้ความรู้แก่นักลงทุน: การให้ความรู้แก่นักลงทุน เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่นักลงทุนเกี่ยวกับธุรกิจต ให้ข้อมูลแก่นักลงทุนโดยนักวิเคราะห์ วิเคราะห์ผลตอบรับจากนักลงทุนและวางแผนการตลาด การพิจารณากำหนดช่วงราคาหุ้่นหลังจากได้รับผลการตอบรับจากนักลงทุน โดยผลลัพธ์ที่คาดหวังคือผลตอบรับจากกลุ่มนักลงทุนสถาบันรายใหญ่
โรดโชว์/การสำรวจความต้องการของนักลงทุน: ผ่านการจัดโดรดโชว์ประชุมแบบเดี่ยว ประชุมแบบกลุ่ม สร้างความต้องการของนักลงทุนทั้งในด้านจำนวนหุ้นและราคาหุ้น โดยผลลัพธ์ที่คาดหวังคือการประกาศช่วงราคาเสนอขายหุ้นที่ได้
ราคาหุ้น/การเข้าจดทะเบียน: ผ่านการกำหนดราคาขายสูงสุด จัดสรรคหุ้นและรับชำระเงินค่าจองซื้อหุ้น นำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ การสนับสนุนหลังเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยผลลัพธ์ที่คาดหวังคือไมด้รับราคาหุ้นสูงสุด (ราคาหุ้่นสุดท้ายที่เหมาะสมจะมีผลต่อการตอบรับจากนักลงทุนหลังเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์)
เครื่องมือการเงินอื่นๆ หลัง IPO (ระดับ 4 และระดับ 5)
การระดมทุนหลังเข้าตลาดทุน (ระดับ 4)
ตราสารหนี้ (Corporate bond) ** ทั้งนี้จะเกี่ยวข้องกับการประเมินเครดิตเรทติ้งก่อนออกตราสารหนี้
ใช้สินเชื่อ (Debt financing)
เครื่องมือระดมทุนหลังเข้าตลาดทุนเมื่อองค์กรอยู่ในตลาดทุนเต็มที่ (ระดับ 5)
Right offering: เป็นการเสนอขายหุ้นสามัญที่ออกใหม่กับผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น
Private placement (PP): เป็นการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่บุคคลในวงจำกัดหรือเจาะจง
Public Offering (PO): เป็นการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนแก่นักลงทุนทั่วไป
Preferential PO
Perpetual bond
Convertible bond
Warrants
Transferable subscription rights(TSR): คล้ายกับ Right offering (RO) แต่ผู้ถือหุ้นสามารถขายหรือโอนวสิทธิ์หากไม่ต้องการใช้วสิทธิ์ในการซื้อหุ้นเพิ่มทุน
REIT/IFF
หมายเหตุ:
ถ้าบริษัทมีการออกแบบระดับ 3 ที่ดีก็ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือในระดับที่ 4 และ 5
CFO จำเป็นต้องพัฒนาโมเดลการเงิน (ล่วงหน้า) เพื่อพิจารณาถึงความต้องการทางการเงินเพื่อนำมาลงทุนและสามารถประเมินเครื่องมือการระดมทุนที่ดี (รวมถึงสามารถบอกได้ว่าปีไหนจะขาดทุนและเอาเงินที่ไหนมาจัดการเงินสดที่ขาดไปในการดำเนินการ)
อย่าลืมว่า DE และ ROE ต้องเหมาะสม (เทียบเท่าหรือดีกว่าบริษัทในระดับเดียวกัน)
หากมีข้อคิดเห็นหรือเสนอแนะใดๆ ทักมาคุยกัหรือแอดมาเป็นเพื่อนกันที่ https://www.facebook.com/kmuttentrepreneurship/
หลักสูตรการจัดการการเป็นผู้ประกอบการ นวัตกรรม และความยั่งยืน (#EPM) เป็นหลักสูตรภายใต้การกำกับดูแลของบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม (#GMI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (#KMUTT)
สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ (02) 470-9799, (02) 470-9795-6, 084-676-5885
LINE : @GMIKMUTT
หรือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://gmi.kmutt.ac.th/th/study-with-us/epm/
สนใจสมัครได้ที่ https://bit.ly/GMI_Apply
CRAFT LAB เตรียมความพร้อมในการพัฒนานักวิจัยให้เป็นผู้จัดการผลิตภัณฑ์ที่สามารถมีทักษะและความรู้ที่ควรเป็น อย่างมีผลลัพธ์ สนใจทักมาคุยกับได้ที่ Line: @061jlshn หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
สำหรับท่านที่ต้องการต่อยอดความรู้ระดับ 'ปริญญาโท' ด้านความเป็นผู้ประกอบการนวัตรกรรมสามารถคลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
เพิ่มเราเป็นเพื่อนในเฟสบุ๊คเพื่อรับข่าวสารและข้อมูลต่อยอดความเข้าใจ
เรื่องที่น่าสนใจอื่น