สร้างเนื้อหาด้วย 'ข้อความที่เฉพาะเจาะจง'
"CRAFT LAB: Make every technology commercialised"
สร้างเนื้อหาด้วย 'ข้อความที่เฉพาะเจาะจง'
ผศ.ดร. ปารเมศ วรเศยานนท์
บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
แนวคิด
หลายครั้งเราจะเจอข้อความที่ไม่เฉพาะเจาจงในบริบทแต่ออกแนนกว้างๆ เช่น "เราทำให้คุณสุขภาพดี" "เราให้บริการรวดเร็ว" แต่ถ้าสินค้าของเรามีความชัดเจนเช่น บริการของเราเรดเร็วไม่เกิน 24 ชั่วโมง หรือ สุขภาพลำไส้ของท่านไก้รับการปกป้องลดภาวะท้องเฟ้อได้ภายใน 20 นาที เทคนิกการสร้างเนื้อหานี้เรียกว่า 'ข้อความที่เฉพาะเจาะจง' ซึ่งการสร้างเนื้อหาแบบเฉพาะเจาจงนี้จะเปลี่ยน 'ข้อความขาย' ให้เป็น 'เรื่องเล่า' ทั้งนี้ต้องตอบวัตถุประสงค์สำคัญ 3 ประการได้แก่ (1) ชัดเจน (2) เห็นภาพ (3) จูงใจ
ตัวอย่าง
'ลูกค้าของเราพึงพอใจ' แปลงเป็น 'ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้ามากกว่า 200 ราย'
'เราได้รับผลตอบรับที่ดีจากผู้ใช้' แปลงเป็น 'จากแบบประเมินความพึงพอใจ 90% ให้คะแนนระดับดีมาก'
'ยิ่งออมเงินยิ่งได้ดอกเบี้ยมาก' แปลงเป็น 'ยิ่งออมมากยิ่งมีมาก กระเป๋าเต็มใน 30 วัน'
'บริหารเวลาดีก็จะมีเวลามากขึ้น' แปลงเป็น '5 เทคนิกบริหารเวลาที่จะได้เวลาเพิ่มเป็น 2 เท่า'
ลูกค้าของเรา แปลงเป็น ทำงานกันลูกค้ามากกว่า XXX ชิ้น และมากกว่า XXX ราย
กระบวนการในการคิด
กระบวนการคิดประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้
(1) การระบุกลุ่มผู้รับสารที่ชัดเจน
(2) ระบุ 'สิ่งที่ต้องการสื่อ' เช่น ประโยชน์สินค้า คุณค่าที่ได้จากสินค้า เรื่องราวหลักที่ต้องการเล่า
(3) หาข้อมูลที่นำมาเป็นข้อระบุเฉพาะเจาะจง เช่น ทำงานร่วมกับลูกค้ามากกว่า 700 ชิ้น 120 ราย (700 ชิ้นกัน 120 รายเป็นข้อมูลที่ต้องหามาเพื่อระบุความเฉพาะเจาะจง)
(4) การปรับคำ เช่น ถ้าข้อความที่ต้องการสื่อคือ 'สินค้าขายดี' ข้อมูลที่ระบะเฉพาะเจาะจงเป็น 'ขายไปได้แล้ว 9670 ชื้น' ดังนั้นการปรับคำอาจจะเป็น ขายได้กว่า 9,000 ชิ้น หรือ ทุกชั่วโมงขายได้ 2 ชิ้น
(5) การสร้างและผสมข้อความจากการปรับคำ เช่น สินค้าขายดี ขายได้กว่า 9,000 ชิ้น หรือ สินค้าขายดี ทุกชั่วโมงขายได้ 2 ชิ้น
หมายเหตุ: ต้องระวังอย่าใช้ตัวเลขที่ไม่ถูกต้องหรือเกินจริง ข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงอาจจะไม่เหมาะกับทุกข้อความ และอย่าลืมอ้างอิงแหล่งที่มา
ดาวโหลดเครื่องมือ
ท่านสามารถดาวน์โหลดเครื่องมือช่วยคิดได้ที่นี่
หากมีข้อคิดเห็นหรือเสนอแนะใดๆ ทักมาคุยกัหรือแอดมาเป็นเพื่อนกันที่ https://www.facebook.com/kmuttentrepreneurship/
หลักสูตรการจัดการการเป็นผู้ประกอบการ นวัตกรรม และความยั่งยืน (#EPM) เป็นหลักสูตรภายใต้การกำกับดูแลของบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม (#GMI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (#KMUTT)
สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ (02) 470-9799, (02) 470-9795-6, 084-676-5885
LINE : @GMIKMUTT
หรือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://gmi.kmutt.ac.th/th/study-with-us/epm/
สนใจสมัครได้ที่ https://bit.ly/GMI_Apply
CRAFT LAB เตรียมความพร้อมในการพัฒนานักวิจัยให้เป็นผู้จัดการผลิตภัณฑ์ที่สามารถมีทักษะและความรู้ที่ควรเป็น อย่างมีผลลัพธ์ สนใจทักมาคุยกับได้ที่ Line: @061jlshn หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
สำหรับท่านที่ต้องการต่อยอดความรู้ระดับ 'ปริญญาโท' ด้านความเป็นผู้ประกอบการนวัตรกรรมสามารถคลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
เพิ่มเราเป็นเพื่อนในเฟสบุ๊คเพื่อรับข่าวสารและข้อมูลต่อยอดความเข้าใจ
เรื่องที่น่าสนใจอื่น