ต้นทุนสูง...ลดตรงไหนได้บ้าง?
"CRAFT LAB: Make every technology commercialised"
ต้นทุนสูง...ลดตรงไหนได้บ้าง?
ผศ.ดร. ปารเมศ วรเศยานนท์
บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
เศรษฐกิจแบบนี้ต้องมีหลายท่านที่เป็นผู้ประกอบการออกมาบ่นแน่ๆ ว่าขายยาก และหนึ่งในวิธีแก้ปัญหาก็คือพยายามที่จะลดต้นทุน
แนวลดต้นทุนนี้มีหลายทางที่ลดต้นทันได้ วันนี้หยิบมาให้ 10 จุดในกระบวนการและวิธีการจัดการที่จะช่วยลดต้นทุนได้ เริ่มกันเลย
วัฒนธรรมองค์กรและการฝังวิธีคิดเรื่องการจัดการต้นทุนให้ธุรกิจและน้องๆ หรือทีมที่สร้างธุรกิจ อันนี้สำคัญมากเพราะมันคือ 'วัฒนธรรมองค์กร' ที่ต้องสร้างให้ทุกคนรู้จักคำว่า 'ทุกกิจกรรมมีต้นทุนและจะทำยังไงเพื่อบริหารต้นทุนให้ดีที่สุด (อันนี้ไม่ใช้ประหยัดต้นทุนสุดๆ นะครับ)'
ความประหยัดจากการซื้อมากผลิตมาก อันนี้หากเรามีการซื้อจำนวนมากหรือเพิ่มกำลังการผลิตจะทำให้ต้นทุนต่อหน่วยลดลง (ถึงแม้ว่าจะไปเพิ่มเงินทุนที่ต้องลงในของมากขึ้น) อันนี้ต้องพิจารณาร่วมกับกำลังทางการตลาดเราด้วยนิดหนึ่ง แต่ถ้ามองทางออก วิธีนี้ต้นทุนลดแยะเลย
ประสบการณ์พนักงาน อันนี้ถ้าท่านชอบจ้างคนแบบไม่ส่งเสริมให้เรียนรู้ท่านพลาดแล้ว เนื่องจากกพนักงานที่มีประสบการณ์และมีการเรียนรู้หน้างานต่อเนื่องจะสามารถทำงานได้ดีและเร็วกว่ากลุ่มที่เข้ามาและออกไปบ่อยๆ ต่อให้ต้นทุนรายเดือนเขาสูงขึ้นตามปี แต่ถ้ามีงานให้เขาต่อเนื่องงานจะคุณภาพสูงกว่าและต้นทุนต่อหน่วยต่ำขึ้นเรื่อยๆ ด้วย
เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานร่วมกับคู่ค้า อันนี้ เช่น ถ้าเราต้องซื้อวัตถุดิบอยู่แล้วลองดูว่าแต่ละเดือนจะต้องซื้อเท่าไหร่ และถ้าไปคุยจำนวนรายไตรมาส หรือรายปีมากกว่าคุยรายวันหรือรายสัปดาห์ จะสามารถลดต้นทุนได้มากขนาดไหน (อันนี้คู่ค้าก็ได้เพราะเขารู้ว่ากรอบรายได้เขาจะเท่าไหร่) หรือการที่คุยกับคู่ค้าว่าต้องการสินค้าแบบไหนและเงื่อนไขตลาดเป็นอย่างไรที่ตลาดต้องการ (ต้องมีการแชร์ข้อมูลกันนะครับ) อันนี้คู่ค้าจะได้ช่วยคิดว่าจะทำอย่างไรที่จะช่วยกันทั้งสองฝ่ายได้
การลดต้นทุนวัตถุดิบ อันนี้อาจจะปรกติที่หลายท่านมองว่าวัตถุดิบในการผลิตหรือการบริการจะลดตรงไหนได้บ้าง อันนี้ช่วยได้เยอะจริง แต่การลดต้นทุนวัตถุดิบต่างจากการลดคุณภาพนะครับ (บางทีขึ้นราคาและคงคุณภาพอาจจะรักษาฐานลูกค้าได้มากกว่า)
การวิเคราะห์และใช้การผลิตหรือทรัพย์สินให้มีประสิทธิภาพสูงสุด อันนี้ต้องกลับมาดูเลยว่าวันนี้ท่านใช้ทนัพย์สินคุ้มหรือยัง (พวกเครื่องจักรจักร พื้นที่เช่า อุปกรณ์ หรือสัญญาเช่าต่างๆ) ถ้ายังไม่คุ้มลองหาว่าจะทำไงคุ้มได้บ้างวิธีหนึ่งอาจจะใช้แนวคิดการประหยัดจากการใช้ส่วนประกอบสินค้าร่วม (เพื่อให้ต้นทุนลดจากการประหยัดจากการซื้อหรือผลิตมากเพื่อนให้ต้นทุนต่อหน่วยลดลง)
ลงทุนในเทคโนโลยี อาจจะแย้งว่าอ้างลดต้นทุนทำไมให้ลงทุนในเทคโนโลยี ก็เงินลงทุนกับลดค่าใช้จ่ายมันคนละอารมณ์กันครับ เทคโนโลยีจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพครับ ซึ่งประสิทธิภาพ = ต้นทุนลดลง คุณภาพดีขึ้น หรือการให้บริการหรือส่งมอบคุณค่าได้มากขึ้น
การใช้ระบบสารสนเทศ ระบบพวกนี้มีต้นทุนครับแต่มันช่วยลดต้นทุนการสื่อสาร ลดค่าแรง เพิ่มความรวดเร็วในการตอบสนองสินค้า เพิ่มช่องทางการให้บริการและช่องทางการขาย รวมถึงการควบคุมพนักงานหรือการดำเนินการ และยังสร้าง 'ต้นทุนการเปลี่ยนไปใช้สินค้าหรือบริการคู่แข่งได้ด้วย' ปัญหามีนิดเดียว คุณจะเลือกลงทุนระบบสารสนเทศตรงไหนก่อนหลังและเพื่ออะไร
การเพิ่มอำนาจการต่อรอง อันนี้หลายท่านอาจลืมไปว่าเราน่าจะกลับมาคิดเรื่องการหาแนวทางการเพิ่มอำนาจการต่อรองบ้าง เพราะหลายครั้งเราลืมไปว่าเราสามารถลดต้นทุนได้จากการเพิ่มอำนาจการต่อรองนะครับ อำนาจการต่อรองมาจากหลายอย่าง เช่น ส่งมอบคุณค่าได้มากกว่าตรงใจกว่า (ลูกค้าเปลี่ยนไปใช้เจ้าอื่นยากหน่อย) การสรรหาสินค้าที่มีคู่แข่งน้อย หรือการปรับกลุ่มลูกค้า การซื้อจำนวนมาก การเพิ่มบริการที่ช่วยลดต้นทุนลูกค้า (ในขณะที่ต้นทุนเราเพิ่มไม่มากแต่ลดต้นทุนการหาสินค้าใหม่และเพิ่มรายได้ในช่วงชีวิตลูกค้าได้)
การจ้างช่วง การจ้างช่วงสำหรับกิจกรรมธุรกิจที่เราไม่มีความชำนาญ หรือคนอื่นทำได้ดีกว่าหรือต้นทุนต่ำกว่าก็เป็นทางเลือกในการลดต้นทุนที่ดี เราไม่ต้องทำทุกอย่างในกระบวนการก็ได้ จ้างช่วงเอาเพื่อเพิ่มประสิทธิภ่พด้านต้นทุน การผลิต และการส่งมอบสินค้าได้ดีขึ้น
ทั้งหมดเป็นแนวทางที่ลดต้นทุนได้ แต่ละธุรกิจหรือโมเดลธุรกิจอาจมีอมีอันที่เหมาะสมและไม่เหมาะสม ลองเลือกใช้กันดูนะครับ
หากมีข้อคิดเห็นหรือเสนอแนะใดๆ ทักมาคุยกัหรือแอดมาเป็นเพื่อนกันที่ https://www.facebook.com/kmuttentrepreneurship/
หลักสูตรการจัดการการเป็นผู้ประกอบการ นวัตกรรม และความยั่งยืน (#EPM) เป็นหลักสูตรภายใต้การกำกับดูแลของบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม (#GMI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (#KMUTT)
สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ (02) 470-9799, (02) 470-9795-6, 084-676-5885
LINE : @GMIKMUTT
หรือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://gmi.kmutt.ac.th/th/study-with-us/epm/
สนใจสมัครได้ที่ https://bit.ly/GMI_Apply
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
สำหรับท่านที่ต้องการต่อยอดความรู้ระดับ 'ปริญญาโท' ด้านความเป็นผู้ประกอบการนวัตรกรรมสามารถคลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
เพิ่มเราเป็นเพื่อนในเฟสบุ๊คเพื่อรับข่าวสารและข้อมูลต่อยอดความเข้าใจ
เรื่องที่น่าสนใจอื่น