หลักการตลาดของ 'ปารเมศ'

"CRAFT LAB: Make every technology commercialised"

LinkFacebookLinkYouTube

หลักการตลาดของ 'ปารเมศ'

ผศ.ดร. ปารเมศ วรเศยานนท์ 

บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 

เมื่อโลกเปลี่ยนแปลงไปมาก การทำให้โมเดลทางการตลาดหลายอย่างเข้ามาใกล้ตัวมากขึ้นและใช้ได้มากขึ้นก็เป็นส่วนสำคัญของนักการศึกษาและนักปฏิบัติต้องกลับมาตกผลึกร่วมกัน วันนี้เห็นว่ามีนักคิดนักปฏิบัติหลายคนเอาคอนเซปเดิมมาใช้ศัพย์ 'กิ๊ปเก๋' เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แบบไม่ใจว่าตกผลึกจริงหรือแค่อยากได้คำ 'แคชชี้' แต่จำง่าย แต่ก็แหละมันทำให้ศัพย์เยอะไปหมด

วันนี้แอดจะทำบ้างแต่จะเอาหลักการและแนวทางปฏิบัติทางการตลาดมาแยกเพื่อให้เข้าใจกันมากกว่า 4P ลองมาดูกัน เรียกตามกระแสแคชชี่ว่า 'หลักการตลาดของปารเมศ' โดยแบ่งกระบวนการตลาดออกมาเป็น 7 ขั้นตอน โดยสามารถจำได้ง่ายๆ ว่า "เข้าถึง เข้าใจ กระตุ้น ปิดขาย รักษา บอกต่อ และพัฒนา" โดยการทำงานทางการตลาดเรียงตามหัวข้อเหล่านี้


เข้าถึง 

เข้าถึง คือ การพยายามที่จะระบุกลุ่มเป้าหมายให้ได้ โดยอาจอ้างอิงถึงแนวคิดด้านการแบ่งกลุ่มเป้าหมายทางการตลาด การระบุและเลือกกลุ่มเป้าหมายทางการตลาด และการอธิบายลักษณะและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย (ดูจากหัวข้อ 2 เข้าใจ)


เข้าใจ

เข้าใจ คือ การพยายามสร้างความเข้าใจเชิงลึกว่ากลุ่มเป้าหมายมองหาอะไรจากสินค้าหรือบริการ และความต้องการของเขาเป็นอะไร และมีพฤติกรรมการจัดการปัญหาต่างๆ อย่างไร รวมถึงเขาพิจารณาทางเลือก (สินค้าหรือบริการคู่แข่งอย่างไร) จากเงื่อนไข กลไกการรับรู้ ความเข้าใจ (ทัศนคติหรือความเชื่อ) 


กระตุ้น

ปัจจับกระตุ้นทางการตลาด อันนี้ต้องอิงอนวคิดคลาสสิก 4P 5P 7P ที่จะช่วยให้เราเห็นภาพเพิ่มขึ้นว่าทีมิติไหนของปัจจัยกระตุ้นทางการตลาดที่เรายังไม่ได้ดูบ้าง แล้วจะได้นำปัจจัยเหล่านี้ไปลองกระตุ้นกลุ่มเป้าหมาย (แต่อย่าลองไปเรื่อยเอาข้อมูลจาก หัวข้อ 2 เข้าใจ มาเป็นตัวกรองปัจจัยกระตุ้น)


ปิดขาย

การที่เขาถูกกระตุ้นแล้วหลายครั้งเกิดพฤติกรรมทันทีหลายครั้งยังปิดการขายไม่ได้ ดังนั้นอาจต้องมีการประเมินถึงแนวโน้มการที่จะตัดสินใจ (ภาษากิ๊ปเก๋ เรียกว่า Lead Score หรือคะแนนความต้องการของลูกค้าต่อการซื้อสินค้า ยิ่งมากยิ่งปิดง่ายแต่ถ้าน้อยก็พลังไปเยอะขึ้น)


รักษา 

รักษาคือกระบวนการในการสร้างความสัมพันธ์ต่อเนื่อง เพื่อให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำหรือชาวยเราบอกต่อเกี่ยวกับสินค้า บริการ หรือช่องทางการซื้อ หรือแม้แต่ช่วยเราได้รับข้อมูลคู่แข่งว่าเขาดำเนินการอะไรบ้าง


บอกต่อ

ถ้าการสร้างความสัมพันธ์กับเราไปได้ดี สิ่งที่เราต้องการให้ลูกค้าที่เป็นลูกค้าแล้วนั้นช่วยเราคือการบอกต่อ (หลายท่านบอกว่าจะทำการตลาดด้วยการบอกต่อ 'ปากต่อปาก' แต่อย่าลืมว่าเขาต้องเคยซื้อเคยใช้แล้วนะถึงจากบอกต่อได้ ถ้าสินค้าใหม่เน้นอันนี้น่าจะใช้เวลาเยอะไป)


พัฒนา

แน่นอนว่าการทำการตลาดก็ต้องมีการเรียนรู้ไปเรื่อย บางทีอาจจะเจอว่าเราสู่คู่แข่งไม่ได้เนื่องจากทำเลที่ตั้ง เงินโฆษณา ตราสินค้า หรือเครือข่าย ก็ตาม ดังนั้นสิ่งเหล่านี้ก็จะเป็นสิ่งที่ต้องเอาไปเป็นโจทย์ในการพัฒนาต่อว่าจะค่อยๆ แก้ความเสียเปรียบแต่ละจุดอย่างไร 


สำหรับวันนี้เอาเป็น 'กระบวนการภาพรวม' ก่อนเดี๋ยวแอดจะค่อยๆ ลงรายละเอียดแต่ละกระบวนการให้  

หากมีข้อคิดเห็นหรือเสนอแนะใดๆ ทักมาคุยกัหรือแอดมาเป็นเพื่อนกันที่ https://www.facebook.com/kmuttentrepreneurship/ 


หลักสูตรการจัดการการเป็นผู้ประกอบการ นวัตกรรม และความยั่งยืน (#EPM) เป็นหลักสูตรภายใต้การกำกับดูแลของบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม (#GMI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (#KMUTT)


สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่  (02) 470-9799, (02) 470-9795-6, 084-676-5885

LINE : @GMIKMUTT

หรือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://gmi.kmutt.ac.th/th/study-with-us/epm/ 

สนใจสมัครได้ที่ https://bit.ly/GMI_Apply 

#GMI #KMUTT #EPM

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

สำหรับท่านที่ต้องการต่อยอดความรู้ระดับ 'ปริญญาโท' ด้านความเป็นผู้ประกอบการนวัตรกรรมสามารถคลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม

เพิ่มเราเป็นเพื่อนในเฟสบุ๊คเพื่อรับข่าวสารและข้อมูลต่อยอดความเข้าใจ

[กดที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อน]

เรื่องที่น่าสนใจอื่น