ตอบข้อสงสัย การตั้งหัวข้อที่ดีเป็นอย่างไร?
"CRAFT LAB: Make every technology commercialised"
ตอบข้อสงสัย การตั้งหัวข้อที่ดีเป็นอย่างไร?
ผศ.ดร. ปารเมศ วรเศยานนท์
บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
หัวข้อเป็นปราการด่านแรกที่จะสามารถดึงดูดให้ผู้รับสารต้องการเข้าไปอ่านเนื้อความหรือจะมองผ่านไป ดังนั้นการตั้งหัวข้อที่ดีจึงสำคัญและการรู้ว่าสื่อที่เราจะลงให้พื้นที่ในการลงหัวข้อมากน้อยขนาดไหนก็จะส่งผลต่อเนื้อหาที่ดีของเรา เช่น การตั้งหัวข้อบทความถ้าเป็นของกูเกิ้ลควรจะอยู่ในช่วง 70 ตัวอักษร เพราะจะไม้ถูกตัดในระบบค้นหา ส่วนการตั้งหัวข้อบทความถ้าเป็นของเฟสบุ๊คควรจะอยู่ในช่วง 12-14 คำ
ประเภทของหัวข้อที่ให้ผลลัพธ์
หัวข้อที่สร้างความสนใจให้กับผู้รับสาร สามารถแบ่งออกได้เป็น 9 ประเภทอันได้แก่
แบบตัวเลข เช่น 10 ที่ท่องเที่ยวอันซีน 5 สูตรพุงยุบเสริมสวยใน 7 วัน (เลขคี่จะดึงความสนใจมากกว่าเลขคู่)
แบบแฉ (อารมณ์ขุดคุ้ยมาให้) เช่น หัวข้อที่มีคำว่า เรื่องลับ ความจริงหลังงานวิวา เบื้องหลังหนี้
แบบสร้างความกลัวหรือการสร้างเรื่องดราม่า เช่น 10 อาชีพเตรียมตกงาน มหาวิทยาลัยถึงกาลอวสานแล้วจริงหรือ
แบบให้คำสัญญา (สัญญาแล้วต้องทำให้ได้ด้วย) เช่น เข้าใจบิทคอยด์ง่ายๆ ใน 7 นาที ออมเงินแค่ 20 บาทรวยได้ด้วย 4 วิธีนี้
แบบสรุปรวม เช่น ขึ้นต้นด้วยคำว่า 'สรุป' (ดูน้อย) หรือ 'รวม' (ดูเยอะ) เช่น สรุปทุกอย่างที่ควรรู้ก่อนสมัครงาน รวมเหตุการรืดราม่าประจำปี 2561
แบบเปรียบเทียบ คือการเอาสองสิ่งมาเปรียบเทียบกัน เช่น อดีตกับปัจจุบันบริษัทไทยที่ใหญ่ที่สุดในไทย
แบบไอดอล (เป็นการนำบุคคลสำคัญ บุคคลดัง มารวมด้วย) เช่น เก่งเร็วก้าวกระโดดแบบท๊อป จิรายุส เปิดตัวสินค้าน่าสนใจเหมือนสติปจ๊อป
แบบฮาวทู คือการสอนแบบทำได้ เช่น การแต่งห้องให้สวยด้วยงบ XXX 5 วิธีสร้างรูปด้วยแอป XXX ฮาวทูซ่อมเสื้อขายให้สวยสไตล์ญี่ปุ่น
แบบตั้งคำถาม (จะต้องเหมาะกับเรื่องที่คนกำลังสงสัยและเราสามารถหาคำตอบให้ได้ด้วย) เช่น อาลีบาบาใหญ่แค่ไหน เชื่อหรือไม่มากกว่าร้อยละ 80 เปอร์เซ็นของผู้ชายไม่อยากแต่งงาน
หมายเหตุ:
อย่างตั้งชื่อเรื่องแค่หนึ่งชื่อควรเขียนเป็นทางเลือกไม่น้อยกว่า 5 ชื่อ
การตามเทรนตามกระแสหรือคำฮิตมาตั้งเป็นหัวเรื่อง (เข้าข้อมูลจากดูเกิ้ลเทรน กูเกิ้ลแอดเวิร์ด และทวิตเตอร์)
ความเข้าใจเรื่องเนื้อหาและประเภทเนื้อหา
หลายครั้งที่มีคนพูดว่าสร้างคอนเทนท์ๆ เราก็จะนึกว่าคอนเทนท์คือ ข้อความ วีดีโอ รูปภาพ ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่ สิ่งเหล่านี้เป็นเป็น รูปแบบของคอนเทนท์ สำหรับคอนเทนท์เองถ้าแปลงเป็นภาษาไทยคือ "เนื้อหา" ซึ่งเป็นส่วนประกอบของการสื่อสารที่ออกไปเพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ จำจด ทัศนคติ หรือพฤติกรรม เพื่อให้สมารถนำการเชื่อมโยงระหว่างหัวข้อกับเนื้อหาว่าควรจะต้องมีความตรงไปตรงมาหรือต้องมีการพลิกแพลงหรือสร้างสรรค์ เนื้อหาสามารถแบ่งแแกได้เป็น 4 ประเภท อันได้แก่
การให้ข้อมูล เช่น โบรชัวร์ ข้อมูลสมัครงาน
การให้คำตอบ (เช่น การตอบความสงสัย)
การให้ความบันเทิง (เน้นการสร้างอารมร์และการเข้าถึงแบรนด์เป็นหลัก หรือการเล่าเรื่อง)
การให้แรงบันดาลใจ เน้นการกระตุ้นให้คนต้องการหรือมีพฤติกรรม (เช่น เนื่องหาที่ทำให้คนอยากเที่ยว)
สำหรับเนื้อหาที่เป็นการให้ข้อมูลตรงไปตรงมา เช่น ข้อมูลขายของ (โบชัวร์) หรือข้อมูลสมัครงาน การตั้งหัวข้อก็จะไม่ต้องพลิกแพลงมาก หากแต่ถ้าเป็นประเภทการให้คำตอบ การให้ความบันเทิง หรือแม้แต่วการให้แรงบรรดาลใจ การพลิกแพลงหัวข้อและความสร้างสรรค์จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการจูงใจให้เกิดความต้องการในการรับเนื้อหาและเพิ่มวการมีส่วนร่วมได้
หากมีข้อคิดเห็นหรือเสนอแนะใดๆ ทักมาคุยกัหรือแอดมาเป็นเพื่อนกันที่ https://www.facebook.com/kmuttentrepreneurship/
หลักสูตรการจัดการการเป็นผู้ประกอบการ นวัตกรรม และความยั่งยืน (#EPM) เป็นหลักสูตรภายใต้การกำกับดูแลของบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม (#GMI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (#KMUTT)
สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ (02) 470-9799, (02) 470-9795-6, 084-676-5885
LINE : @GMIKMUTT
หรือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://gmi.kmutt.ac.th/th/study-with-us/epm/
สนใจสมัครได้ที่ https://bit.ly/GMI_Apply
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
สำหรับท่านที่ต้องการต่อยอดความรู้ระดับ 'ปริญญาโท' ด้านความเป็นผู้ประกอบการนวัตรกรรมสามารถคลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
เพิ่มเราเป็นเพื่อนในเฟสบุ๊คเพื่อรับข่าวสารและข้อมูลต่อยอดความเข้าใจ
เรื่องที่น่าสนใจอื่น