เข้าตลาดหุ้นอย่างใรให้ได้ราคา: กระบวนการเข้าตลาดทุนและการจำหน่ายหุ้นแก่นักลงทุนให้ได้ราคา
"CRAFT LAB: Make every technology commercialised"
เข้าตลาดหุ้นอย่างใรให้ได้ราคา: กระบวนการเข้าตลาดทุนและการจำหน่ายหุ้นแก่นักลงทุนให้ได้ราคา
เรียบเรียงโดย ผศ. ดร. ปารเมศ วรเศยานนท์
บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
กระบวนการในการเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์
กระบวนการ IPO ประกอบด้วย ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก อันได้แก่
การเตรียมความพร้อม: การเตรียมเอกสาร ระบบควบคุมภายใน งบการเงิน และคุณสมบัติอื่นๆ และอัพเดทการตรวจสอบข้อมูลและอัพเดทเอกสารที่เกี่ยวข้องให้เป็นปัจจุบัน โดยมีขั้นตอนการเตรียมตัวสดังนี้ (ใช้เวลาประมาณ 9-11 เดือน)
การบริหารจัดการที่มีมาตรฐาน (ตามมาตรฐานบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เช่น การมีกรรมการ การมีกรรมการชุดย่อย การตรวจสอบ)
งบการเงินถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด*
งบการเงินควรยื่นตามเกณฑ์ขั้นต่ำดังนี้
การเสนอขายในประเทศและยื่นก่อนปิดปีบัญชี 2565 ให้ใช้ข้อมูลย้อยนหลัง 3 ปี ตามมาตรฐานการตรวจสอบ Audit PAE (Publicly Accountable Entities) และ Audit NPAE (Non-Publicly Accountable Entities) ได้
การเสนอขายในประเทศและยื่นปิดบัญชีหลัง 2565/ต่างประเทศ ใช้ข้อมูลย้อยนหลัง 3 ปี ตามมาตรฐานการตรวจสอบ Audit PAE (Publicly Accountable Entities) เท่านั้น
หากมีการปรับโครงสร้างควรมีการทำ 'งบการเงินล่วงหน้า' (Pro Forma Financial statement)
บริษัทต้องสามารถปิดงบการเงินได้ตรงตามระยะเวลาที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด (โดยปรกติแล้ว 45 วันหลังจากปิดไตรมาส)
ระวังเรื่องรายการระหว่างกัน/รายการที่เกี่ยวโยงกัน
ระบบควบคุมภายในที่มีมาตรฐานเทียบเท่าหรือมากกว่าบริษัทที่จดทำเบียนในตลาดหลักทรัพย์อื่น* (เช่น การวางแผนภาษีอากรที่เกิดจากการปรับโครงสร้าง การขจัดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (โครงสร้างการถือหุ้นที่สอดคล้องกับกฎ ระเบียบ) การประเมินและปรับปรุงระบบควบคุมภายใน รายงานผลการตรวจสอบภายใน การปรับโครงสร้างที่มีต้นทุนเหมาะสม)
ควรมีการจ้างระบบที่ปรึกษาระบบควบคุมภายใน (Internal control advisor หรือ IA) มาช่วยดำเนินการในช่วงแรก และค่อยพัฒนากรรการการและกลไกการควบคุมภายในขึ้นมา
กระบวนการควบคุมภายในสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ ก่อนนำส่งคณะกรรมการตรวจสอบประเมินระบบควบคุมภายใน ดังนี้
IA ประเมินระบบควบคุมภายในเบื้องต้น และให้คำแนะนำบริษัทในการปรับปรุงระบบควบคุมภายใน
บริษัทดำเนินการปรับปรุงระบบควบคุมภายในตามที่ IA แนะนำ
IA ประเมินระบบควบคุมภายในครั้งที่ 2 และออกรายงานการควบคุมภายใน
นำรายงานการควบคุมภายในส่งคณะกรรมการตรวจสอบประเมินระบบควบคุมภายใน
หมายเหตุ:
กระบวนการทั้งหมดก่อนส่งรายงานให้กับคระกรรมการจะมีคณะกรรมการตรวจสอบและหน่วยงานตรวจสอบภายในคอยช่วยกำหกับดูแล)
FA มีหน้าที่การประสานและสอบรายงานของ FA โดยมีกรอบในการสอบทานอยู่บนพื้นฐาน 4 ด้าน ดังนี้
Separation of Duties เช่น แยกบุคลากรฝ่ายนบัญชีกับการเงิน และแยกบุคลากรฝ่ายจัดซื้อและรับสินค้า เป็นต้น
Timeliness (มีตารางเวลาที่เหมาะสม)
Auditable
Properly authorized
เรื่องอื่นๆ
การมีการประเมินและตรวจสอบข้อมูลที่ถูกต้อง
การสัมภาษณ์ผู้บริหาร และการจัดทำแผนธุรกิจรวมถึงการพยากรณ์ทางการเงิน
การประเมินมูลค่าและรายงานมูลค่าเบื้องต้นของบริษัท
Corporate formality: การนัดประชุมคณะกรรมการบริษัท และผู้ถือหุ้น การจัดเตรียมรายงานการประชุมคณะกรรมการบริษัทและที่ประชุมผู้ถือหุ้น แต่งตั้งคณะกรรมการบริาัท กรรมการอิสระและกรรมการชุดย่อยต่างๆ รวมถึงการแปรงสภาพเป็นบริาัทมหาชนและการอนุมัติที่เกี่ยวข้อง
การจัดเตรียม Filing และเอกสารยื่น ก.ล.ต. และ ตลท. เช่น Filing (69-1) และ เอกสารประกอบการขออนุญาตต่อ ก.ล.ต. และ ตลท.
การร่างหนังสือชี้ชวนและเอกสารการขายต่างๆ
การจัดการโครงสร้างกลุ่มให้เหมาะสม
โครงสร้างบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ควรเป็นไปตาม ทจ. 39/2559 (ก. ควรรวมบริษัทที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักทั้งหมดเข้ามารวมอยู่ในกลุ่มของบริษัทที่เข้าจดทะเบียน ข. บริษัทที่มีบริษัทย่อยควรถือบริษัทย่อยดังกล่าว 100% ยกเว้นมีเหตุผลที่สามารถอธิบายได้ ค. ไม่มีการถือหุ้นไข้ว) และกฎเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้อง
ขั้นตอนสำคัญในการปรับโครงสร้าง: ก. ระบุกลุ่มธุรกิจและบริษัทที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ข. ระบุบริษัท Flagship หรือบริษัท Holding ที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ค. ดำเนินการร่วมกับที่ปรึกษาทางการเงิน ที่ปรึกษากฎหมาย ที่ปรึกษาภาษีในการออกแบบและดำเนินการตามขั้นตอนในการปรับโครงสร้าง โดยใช้บริษัท Flagship ดำเนินการซื้อบริษัทต่างๆ เข้ามาเป็นบริษัทย่อย
กระบวนการพิจารณาคุณสมบัติของ ก.ล.ต.: กระบวนการพิจารณาของ ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์รวม 165 วัน (120+45 วัน) โดยมีกระบวนการหลักๆ ได้แก่ การตรวจสอบเอกสาร การเยี่ยมชมกิจการของ ก.ล.ต. และ ตลท. ก.ล.ต. อนุมัติคำขอขายหุ้นเพิ่มทุน และ ตลท. อนุมัติรับหุ้นสามัญของบริษัทเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน
กระบวนการเสนอขายหุ้น IPO (Placement process): การทำการตลาดสำหรับหุ้น IPO กระบวนการกำหนดราคา IPO (** ราคาหุ้นที่ดีเมื่อเข้าตลาดแล้วราคาขึ้น 10-20%) และ Aftermarket support ตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์และ ก.ล.ต. (ใช้เวลาประมาณ 6+6 เดือน)
กระบวนการเสนอขายหุ้น IPO (Placement process) ประกอบด้วยกระบวนการสำคัญ ดังนี้
จัดเตรียม Equity story และการวาง Position ของบริษัท
ประมาณการความต้องการและระบุกลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย
จัดสรรหุ้นให้แก่นักลงทุนกลุ่มต่างๆ อย่างเหมาะสม
การจัดเตรียมเอกสารการตลาดและการขาย
การทำ Road show และการเตรียมการตลาด
การปิดบัญชีกำหนดราคาเสนอขาย
กลยุทธ์ในการเสนอขายหุ้นให้ประสบความสำเร็จ มี 4 ขั้นตอน ได้แก่
ระบุความน่าสนใจของบริษัท
แผนธุรกิจและตำแหน่งทางการตลาดที่ชัดเจน
ผลการดำเนินการที่แข็งแกร่ง
แนวโน้มการเติบโตสูง
คณะผู้บริหารมีประสบการณ์ในอุตสาหกรรม
การประเมินความต้องการและกำหนดกลุ่มเป้าหมาย (แต่ละกลุ่มเป้าหมายมียโยบายการลงทุนไม่เหมือนกัน)
กำหนดกลุ่มนักลงทุนเป้าหมายแต่ละประเภท ทั้งนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายย่อย
การวิเคราะก์ความต้องการของนักลงทุน
การพิจารณาช่วงเวลาเสนอขายที่เหมาะสม
สัดส่วนการเสนอขาย และการกระจายหุ้นสำหรับกลุ่มนักลงทุนแต่ละกลุ่ม ประเมินข้อพิจารณาและแนวทางลดความกังวลจากนักลงทุน
กลยุทธ์ทางการตลาดและแผนเสนอขาย
การจัดทำการตลาดกับนักลงทุนสถาบัน (Pre-marketing)
นำทีมผู้บริหารโรดโชว์ เพื่อนำเสนอข้อมูลให้แก่นักลงทุนรายหลัก (Anchor account)
จัดทำการการตลาดสำหรับนักลงทุนรายย่อย
นำเสนอข้อมูลผ่านสื่อ ทั้งสื่อหลัก สื่อรอง และสื่อออนไลน์
โครงสร้างการเสนอขายหุ้นที่เหมาะสม
แผนการประชาสัมพันธ์หุ้นของบริษัท รวมทั้งแผนการตลาดและสื่อโฆษณาต่างๆ
บริการสนอบสนันสนุนหลังเข้าตลาดหลักทรัพย์
ออกบทวิเคราะห์หมุ้นอย่างต่อเนื่อง
การจัดทำโดรโชว์แบบ non-deal
การจัดการประชุมกับผู้จัดการกองทุนรายใหญ่ทั้งในและต่างประเทศ
ความสำเร็จในการกระจายหุ้น
ตลาดแรก: หุ้นได้รับการซื้อทั้งจำนวน การจัดสรรหุ้นได้อย่างเหมาะสมกับกลุ่มนักลงทุน ราคาหุ้่นอยู่ในระดีบสูง และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่องค์กร
ตลาดรอง: มีสภาพคล่องเพียงพอในการซื้อขายหุ้น
ราคาหุ้นเพิ่มอย่างมีเสถียรภาพ
ขั้นตอนแห่งความสำเร็จในการได้ราคาหุ้นสูง
การวิเคราะห์ภายใน: ผ่านการตรวจสอบสถานะของกิจการและการร่างหนังสือชี้ชวน การวิเคราะห์งบการเงินบริษัท ร่วมมือกับฝ่ายการเงินบริาัทในการจัดทำประมาณการทางการเงินและประเมิืนมูลค่ากิจการด้วยวิธีประเมินรูปแบบต่างๆ) โดยผลลัพธ์ที่คาดหวังคือที่ปรึกษาทางการเงินพิจารณากำหนดช่วงราคาหุ้นเบื้องต้น
บทวิเคราะห์: ผ่านการบรรยายสรุปให้แก่นักวิเคราะห์ นักวิเคราะห์ประเมินมูลค่ากิจการและประมาณการทางการเงิน การวิเคราะห์ภาพรวมของอุตสาหกรรม การเปิดเผยบืวิเคราะห์ต่อสาธารณาเพื่อให้ยักลงทุนเข้าถึงข้อมูล โดยผลลัพธ์ที่คาดหวังคือนักวิเคราะห์ให้ข้อมูลแก่นักลงทุน
การให้ความรู้แก่นักลงทุน: การให้ความรู้แก่นักลงทุน เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่นักลงทุนเกี่ยวกับธุรกิจต ให้ข้อมูลแก่นักลงทุนโดยนักวิเคราะห์ วิเคราะห์ผลตอบรับจากนักลงทุนและวางแผนการตลาด การพิจารณากำหนดช่วงราคาหุ้่นหลังจากได้รับผลการตอบรับจากนักลงทุน โดยผลลัพธ์ที่คาดหวังคือผลตอบรับจากกลุ่มนักลงทุนสถาบันรายใหญ่
โรดโชว์/การสำรวจความต้องการของนักลงทุน: ผ่านการจัดโดรดโชว์ประชุมแบบเดี่ยว ประชุมแบบกลุ่ม สร้างความต้องการของนักลงทุนทั้งในด้านจำนวนหุ้นและราคาหุ้น โดยผลลัพธ์ที่คาดหวังคือการประกาศช่วงราคาเสนอขายหุ้นที่ได้
ราคาหุ้น/การเข้าจดทะเบียน: ผ่านการกำหนดราคาขายสูงสุด จัดสรรคหุ้นและรับชำระเงินค่าจองซื้อหุ้น นำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ การสนับสนุนหลังเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยผลลัพธ์ที่คาดหวังคือไมด้รับราคาหุ้นสูงสุด (ราคาหุ้่นสุดท้ายที่เหมาะสมจะมีผลต่อการตอบรับจากนักลงทุนหลังเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์)
หากมีข้อคิดเห็นหรือเสนอแนะใดๆ ทักมาคุยกัหรือแอดมาเป็นเพื่อนกันที่ https://www.facebook.com/kmuttentrepreneurship/
หลักสูตรการจัดการการเป็นผู้ประกอบการ นวัตกรรม และความยั่งยืน (#EPM) เป็นหลักสูตรภายใต้การกำกับดูแลของบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม (#GMI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (#KMUTT)
สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ (02) 470-9799, (02) 470-9795-6, 084-676-5885
LINE : @GMIKMUTT
หรือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://gmi.kmutt.ac.th/th/study-with-us/epm/
สนใจสมัครได้ที่ https://bit.ly/GMI_Apply
CRAFT LAB เตรียมความพร้อมในการพัฒนานักวิจัยให้เป็นผู้จัดการผลิตภัณฑ์ที่สามารถมีทักษะและความรู้ที่ควรเป็น อย่างมีผลลัพธ์ สนใจทักมาคุยกับได้ที่ Line: @061jlshn หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
สำหรับท่านที่ต้องการต่อยอดความรู้ระดับ 'ปริญญาโท' ด้านความเป็นผู้ประกอบการนวัตรกรรมสามารถคลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
เพิ่มเราเป็นเพื่อนในเฟสบุ๊คเพื่อรับข่าวสารและข้อมูลต่อยอดความเข้าใจ
เรื่องที่น่าสนใจอื่น