หาโอกาสรวยทำได้อย่างไร?

"CRAFT LAB: Make every technology commercialised"

LinkFacebookLinkYouTube

หาโอกาสรวยทำได้อย่างไร?

ผศ.ดร. ปารเมศ วรเศยานนท์ 

บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 

ก่อนอื่นต้องเข้า่ใจก่อนว่า 'เงิน หรือ ผลตอบแทน' จะไม่ลอยมามีแต่ต้องพยายามในการพัฒนาความสามารถก่อน และผลตอบแทนถึงจะมา ดังนั้นจะเจอว่าหลายครั้งเรามีไอเดียแต่เราไม่สามารถทำให้เป็นจริงและสร้างเป็นผลตอบแทนได้ วันนี้มาดูแนวทางการหาโอกาสเป็นเจ้าสัวว่าทำได้อย่าไรจากคำถามเริ่มต้น "จะหาอะไรทำดีที่มันโอเคร" การระบุโอกาสทางธุรกิจนั้นโดยมากจะมาจาก 6 แหล่งด้วยกัน ได้แก่ (1) จากตัวเอง (2) จากกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มคนในสังคม (3) จากสภาพตลาดและการเปลี่ยนแปลงของตลาด (4) จากเครือข่าย  (5) จากการวิเคราะห์ธุรกิจของคนอื่น และ (6) ออกไปเปิดโลก

ไฮไลท์

โอกาสที่มาจากตัวเอง

โอกาสที่มาจากตัวเองนั้นมาจาก ความรู้ ทักษะ ความสามารถที่เชี่ยวชาญ และทรัพยากรของตนเอง โดยโอกาสจะมาจาก 2 สมการสำคัญ คือ (1) นำความรู้ ทักษะ และความสามารถไปหาโอกาส เช่น การเอาทักษะด้านการทำอาหารไทย  รับจ้างทำอาหารเพื่อส่งร้านข้าวแกง หรือ (2) นำความรู้ ทักษะ และความสามารถไป '+' กับทรัพยากร เช่น หากมีเงินเก็บและมีความเชี่ยวชาญด้วยการตกแต่งบ้าน โอกาสก็อาจจะแปลงเป็นการรีโนเวทบ้านขาย ทั้งนี้ทรัพยากรหมายถึง เงินทุน คน ระบบ เครื่องจักร ที่ดิน ทรัพย์สินทางปัญญา ตราสินค้า คน และเครือข่าย (ข้อพึงระวังคือ ต้องรู้ตัวเองด้วยว่ามีข้อจำกัดตรงไหน เช่น การประเมินราคาทำไม่เป็น หรือการหาแหล่งเงินทุนจำกัด หรือการทำตลาดบ้านรีโนเวทไม่เป็น อันนี้ก็จะต้องไปฝึกเพิ่ม แต่โอกาสเริ่มมา)

นอกเหนือจากนั้นโอกาสอาจจะมาจากการต่อยอดข้ามความคุ้นเคยในสิ่งที่ทำอยู่ เช่น หากคุณขายข้าวแกงอยู่ ทักษะและความเชี่ยวชาญด้านข้าวแกงอาจจะนำมาซึ่งแนวคิดการเติบโตจากการ ขั้นไปเป็นผู้ผลิตวัตถุดิบชนิดใจชนิดหนึ่ง หรือเปลี่ยนรูปแบบเป็นผู้ผลิตสินค้าพร้อมทานรุปแบบอื่นนอกจากข้าวแกงตักได้ เช่น ข้าวแกงแช่แข็งพร้อมทานเป็นต้น

จากกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มคนในสังคม

โอกาสทางธุรกิจคือการเติมเต็มความต้องการของสังคม ดังนั้นโอกาสมาจากสังคมนั้นขาดสิ่งใด หรือสิ่งที่มีอยู่ปัจจุบันสามารถตอบสนองได้มากหรือน้อยขนาดไหน ภายใต้เงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในสังคม 

สำหรับคนที่ยังไม่มีไอเดียด้านโอกาสทางธุรกิจเลย อาจใช้กระบวนการนี้ในการหาโอกาส

(1) การระบุกลุ่มเป้าหมาย (การหาว่ากลุ่มใดในสังคมที่ท่านมองว่าอยากทำอะไรที่สร้างประโยชน์แก่พวกเขา) กลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่ท่านจะระบุอาจมาจากกลุ่มคนที่มีลักษณะเหมือนท่าน (เช่น นักเรียนนักศึกษา พนักงานออฟฟิส พนังงานโรงงาน ผู้ทำอาชีพอิสระ เกษตรกร) หรือคนอยู่ใกล้ตัวท่าน เช่น คุณพ่อคุณแม่ คุณป้า ร้านอาหารแถวบ้าน โรงงานแถวบ้าน หรือผู้ให้บริการที่อยู่ใกล้บ้านท่าน 

การเลือกคนในแต่ละกลุ่มจะเป็นการกำหนดขอบเขตของปัญหาหรือโอกาสที่แต่ละกลุ่มมีความต้องการและยังไม่ถูกเติมเต็มที่แตกต่างกัน 

(2) การเก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย เป็นกระบวนการในการเข้าใจปัญหาของกลุ่มเป้าหมายของท่าน โดยอาจจะมีคำถามในกลุ่มเหล่านี้เพื่อสร้างความเข้าใจและระบุโอกาส 

(3) การระบุปัญหา เป็นกระบวนการในการกำหนด 'ปัญหาที่ชัดเจน' จากการเก็บข้อมูล ทำความเข้าใจข้อมูลและบริบท โดยปัญหาที่ชัดเจนจะสามารถเขียนได้ชัดมากว่า เป็นปัญหาของกลุ่มใดและปัญหานั้นจะสร้างประโยชน์หรือให้คุณค่ากับกลุ่มเป้าหมายอย่างไรถ้าสามารถแก้ไขปัญหาได้ เช่น 'ปัญหาของวินมอเตอร์ไซต์ที่มีคนมช้ยริการแค่ช่วยเช้าและช่วงเย็๋น ส่วนช่วงอื่นๆ ไม่ค่อยมีลูกค้า' (วินมอเตอร์ไซต์มีรายได้จำกัดถ้าแก้ปัยหานี้ได้จะทำให้โอกาสของวินมอเตอร์ไซต์ดีขึ้น) หรือ 'แผงลอยขายอาหารทำให้ทางทเ้าสกปรกมากและทำให้คนทานอาจจะได้รับเชื้อที่เป็นผลต่อสุขภาพ (ปัญหาคนกินปัญหาชุมชนถ้าแก้ได้จะทำให้คนกินสุขภาพดีขึ้นสังคมดดยรอบสะอาดขึ้นไม่เป็นพิษ)' 

(4) การหาแนวทางในการแก้ไข แนวทางแก้ไขจะออกมาในรุปของสินค้าหรือบริการที่จะช่วยแก้ปัญหา เช่น เพิ่มความถี่ในการวิ่งของมอเตอร์ไซต์รับจ้่างโดยพัฒนาแอปรับส่งเอกสารเพื่อให้เกิดการให้บริการของวิในพื้นที่มากขึ้น หรือการพัฒนาบริการตลาดในพื้นที่ในเมือง เพื่อให้เกิดพื้นที่ที่มีการจัดการด้านความสะอาดในการเตรียมอาหารมากขึ้น

สำหรับท่านที่มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอยู่แล้ว และต้องการที่จะต่อยอดอาจทดลองใช้กระบวนการนี้เพื่อหาโอกาสเพิ่มเติม

(1) การเก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย ในกระบวนการนี้เป็นการถามหรือขอความคิดเห็นเพิ่มเติมว่าล฿กค้ามีจ้อจำกัดด้านการซื้อ การใช้ หรือมีความต้องการสินค้าอื่น หรือมีสินค้าในอุดมคติอะไรบ้าง ซึ่งจะได้นำมาเป็นโอกาสในการสร้างหรือต่อยอดธุรกิจ

(2) การระบุปัญหา ป็นกระบวนการในการกำหนด 'ปัญหาที่ชัดเจน' จากการเก็บข้อมูล ทำความเข้าใจข้อมูลและบริบท โดยปัญหาที่ชัดเจนจะสามารถเขียนได้ชัดมากว่า เป็นปัญหาของกลุ่มใดและปัญหานั้นจะสร้างประโยชน์หรือให้คุณค่ากับกลุ่มเป้าหมายอย่างไรถ้าสามารถแก้ไขปัญหาได้

(3) การหาแนวทางในการแก้ไข แนวทางแก้ไขจะออกมาในรุปของสินค้าหรือบริการที่จะช่วยแก้ปัญหา 

โอกาสที่มาจากสภาพตลาดและการเปลี่ยนแปลงของตลาด

โอกาสที่มาจากสภาพตลาดและการเปลี่ยนแปลงของตลาดนั้นมาจาก 5 ประเด็นสำคัญอันได้แก่ 

(1) เทรนของสังคม เป็นการนำกระแสมาพิจารณาโอกาส เช่น กระแสความนิยมท่องเที่ยวเมืองรอง ก็จะสร้างโอกาสด้านธุรกิจที่จะตอบความต้องการของนักท่องเที่ยวในพื้นที่เมืองรองมากขึ้น วึ่งดอกาสก็จะเกิดขึ้นจากการวิเคระาห์ถึงห่วงโซ่คุณค่าการท่องเที่ยวในพื้นที่ เช่น วัตถุดิบทางการเกษตรที่จะทำอาหาร ร้านค้าขายบรรจุภัณฑ์ บริการรับส่งสินค้าระหว่างเมือง บริการที่พัก สินค้าสบู่ ของฝากและร้านค้าของฝาก และอื่นๆ 

(2) ปัจจัยแวดล้อม ประกอบไปด้วยปัจจัยด้านเทคโนโลยี ด้านกำลังซื้อ ด้านการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสังคม ด้านการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม และด้านการเปลี่ยนแปลงของกฎหมายหรือบ้อบังคับ การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยเทคโนโลยีทำให้เกิดสินค้าหรือบริการใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีเป็นองค์ประกอบ (เช่น แพลทฟอร์มลาซาด้า แปลงจากตลาดขายสินค้าเชิงกายภาพเป็นตลาดขายสินค้าออนไลน์) กำลังซื้อที่เปลี่ยนแปลงทั้งเพิ่มขึ้นหรือลดลงทำให้เกิดโอกาส (เช่น ถ้าคนมีกำลังซื้อสูงสินค้าที่มีข้อจำกัดก่อนหน้า เช่น ซอสพาสต้า ไข่ปลาคาเวีย จะมีตลาดที่ใหญ่ขึ้น หากกำลังซื้อลดลง สินค้ากลุ่มที่ลดราคาหรือทำให้เกิดต้นทุนครองชีพต่ำลงจะเป็นโอกาสได้มากขึ้น) 

(3) การเติบโตหรือการหดตัวของตลาด การเติบโตหรือการหดตัวของตลาดเป็นส่วนที่จะสามารถหาดอกาสได้ เช่น ถ้าการเติบโตของสินค้าจากเกาหลีเติบโตเร็ว ก้เป็นโอกาสด้านการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานสินค้าเกาหลี (ผู้นำเข้า ผู้ขาย ผู้ผลิต ผู้จัดเก็บสินค้า ผู้ขนส่งและกระจาย ผู้ต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่มอื่นๆ) หรือแม้แต่การหดตัวของตลาดก็ยังเป็นโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มลุกค้าขนาดเล็ก เช่น ฟิลม์ถ่ายรุปตลาดหดตัวมากหากแต่ยังมีกลุ่มที่เสาะหาสินค้าชนิดนี้เพื่อการใช้เครื่องหรืออุปกรณ์อย่างต่อเนื่อง

(4) การจัดการความเสี่ยง ความเสี่ยงปัจจัยสำคัญที่จะต้องหาเครื่องมือ (สินค้าหรือบริการ) เข้ามาเพื่อช่วยลดความเสี่ยงหรือป้องกันความเสี่ยง ดังนั้นในการที่วิเคราะห์ความเสี่ยงของธุรกิจหรือบุคคลดดยมากจะเจอสินค้าหรือบริการที่เป็นโอกาสในการพัฒนา

(5) การวิเคราะห์จุดอ่อนหรือจุดแข็งของคู่แข่งต่อตลาดเป้าหมาย เป็นการพิจารณาว่า ณ ปัจจุบันคู่แข่งมีจุดอ่อนหรือจุดแข็งอย่างไรต่อการเข้าถึงกลุ่มตลาดเป้าหมาย ซึ่งการวิเคราะห์นี้จะช่วยให้เห็นว่าสินค้า บริการ หรือการจัดการองค์ประกอบทางธุรกิจหรือสินค้าตรงไหนที่ยังมีโอกาสในการพัฒนา เช่น เอ็มเคสุกี้ ตั้งแต่เข้าตลาดหลักทรัพย์ก็มีราคาที่สูงเกินกว่าผู้บริโภคทั้งไปจะเข้าถึง ทำให้เกิดโอกาสของร้านสุกี้ (บุเฟ่) เช่น สุกี้ตี๋น้อยที่เป็นช่องในการแทรกเข้าสู่ตลาดสุกี้

โอกาสจากเครือข่าย

การมีเครือข่ายที่ดีจะนำมาสู่การสร้างโอกาสทางธุรกิจ อันนี้เป็นวลีที่ได้ยินมาเยอะหากแต่ว่าทำไมหลายท่านยังสร้างเครือข่ายที่ต่อยอดธุรกิจไม่ได้ อันนี้ต้องย้อนมาดูแล้วว่าตัวท่านเองนั้นอยู่ในโลกของท่านเยอะเกินไปหรือไม่ (ลองพิจารณาเพื่อนหรือเครือข่ายของท่านที่สำคัญ 20 ท่าน และลองพิเคราะห์ว่าท่านได้รู้จักเครือข่ายนี้มาอย่างไร ถ้ามาจากตัวท่านเองอย่างเดียว แปลว่าท่านเลือกอยู่กับกลุ่มคนที่มีลักษระที่ใกล้เคียงกับท่าน มีความสบายใจได้คนที่พูดรู้เรื่อง และได้และเปลี่ยนกับคนที่อยู่ในกลุ่มสังคมเดียวกัน ซึ่งดีในการกระชับเครือข่ายหากแต่ไม่ดีในการสร้างการเติบโตของเครือข่ายทางธุรกิจ) 

ในการหาโอกาสทางธุรกิจที่มาจากเครือข่ายจำเป็นต้องหาเครื่อข่ายที่ช่วยในการเติบโต ซึ่งเครือข่ายการเติบโตและช่วยการสร้างโอกาสทางธุรกิจสามารถประเมินได้ ดังนี้

จากการวิเคราะห์ธุรกิจของคนอื่น

โอกาสที่มาจากการวิเคราะห์ธุรกิจของคนอื่นนั้นมี 2 ประเภท ได้แก่ (1) การสังเกตุและการวิเคราะห์โอกาสด้านผลตอบแทนของธุรกิจประเภทต่างๆ และตัดสินใจว่าจะทำอะไร (2) การหาธุรกิจที่ประกาศขายและมีการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการลงทุนปรับสภาพให้ดีขึ้น

ออกไปเปิดโลก

การได้ไปท่องเที่ยวต่างประเทศและลองดูสังเกตสินค้าในประเทศนั้นๆ หรือการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศนั้นจะทำให้สามารถเห็นถึงโอกาส รวมถึงช่องทางการติดต่อผู้ผลิต ผู้ขายสิทธิ หรือผู้ให้บริการ เพื่อนำมาสร้างโอกาส นอกเหนือจากนั้นยังเป็นการวิเคราะห์ถึงโอกาสที่จะนำสินค้าที่มีอยุ่ ณ ปัจจุบันไปสร้างโอกาสในต่างประเทศ และอีกแนวทางหนึ่งคือการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบต้นทุนและโอกาสการผลิตสินค้าในต่างประเทศหรือการผลิตสินค้าหรือบริการของต่างประเทศและย้อนไปขายประเทศต้นทางจะสร้างโอกาสหรือไม่ เช่น ประเทศญี่ปุ่นมีการทำผงโรยข้าวและบริโภคเยอะหากแต่ต้นทุนการผลิตจะสูงกว่าการผลิตในประเทศไทย ดังนั้นอาจเป็นดอกาสในการผลิตในประเทศเพื่อว่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น

หากมีข้อคิดเห็นหรือเสนอแนะใดๆ ทักมาคุยกัหรือแอดมาเป็นเพื่อนกันที่ https://www.facebook.com/kmuttentrepreneurship/ 


หลักสูตรการจัดการการเป็นผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม (#EPM) เป็นหลักสูตรภายใต้การกำกับดูแลของบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม (#GMI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (#KMUTT)


สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ (02) 470-9795-6, 084-676-5885

LINE : @GMIKMUTT

หรือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://gmi.kmutt.ac.th/master_program

สนใจสมัครได้ที่ https://bit.ly/GMI_Apply 

#GMI #KMUTT #EPM

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

สำหรับท่านที่ต้องการต่อยอดความรู้ระดับ 'ปริญญาโท' ด้านความเป็นผู้ประกอบการนวัตรกรรมสามารถคลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม

เพิ่มเราเป็นเพื่อนในเฟสบุ๊คเพื่อรับข่าวสารและข้อมูลต่อยอดความเข้าใจ

[กดที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อน]

เรื่องที่น่าสนใจอื่น