มั่งคั่งแบบอีลอนด้วยโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี (BCG)

"CRAFT LAB: Make every technology commercialised"

LinkFacebookLinkYouTube

มั่งคั่งแบบอีลอนด้วยโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี (B-C-G)

ผศ.ดร. ปารเมศ วรเศยานนท์ 

บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 

โมเดล BCG (B-Bioeconomy, C-Circular economy, G-Green economy) เป็นโมเดลที่เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนโดยมุ่งเน้นมุ่งสร้างมูลค่าเพิ่มของทรัพยากรชีวภาพ เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจหมุนเวียนที่คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่าหรือยาวนานที่สุด และเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งหากดำเนินการได้อย่างมีประเสิทธิภาพจะทำให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจบนรากฐานการสร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากรที่หมุนเวียนใช้และยังคงสามารถรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดีเพื่อความมั่นคงของประชาชนได้


โมเดล BCG เกิดจากฐานทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม ซึ่งโมเดลทางเศรษฐกิจนี้จะนำฐานทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมมาสร้างมูลค่าเพิ่มโดยคำนึงถึงการจัดการให้เกิดการหมุนเวียน ฟื้นฟู ตลอดจนการอนุรักษ์ฐานทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมเหล่านี้ จะทำให้เศรษฐกิจและสังคมสามารถพึ่งพาตัวเองได้ สร้างความมั้นคงทางสังคมและชุมชน ตลอดจนการฟื้นตัวได้รวดเร็วของทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งนี้ประเทศไทยมีวิสัยทัศน์ต่อการใช้โดมเดล BCG ว่าเป็น  เป็นกลไกที่มีศักยภาพสูงในการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในประเทศอย่างทั่วถึง สามารถกระจายโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันสามารถสร้างให้ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นผู้นำระดับโลกในบางสาขาที่ประเทศไทยมีศักยภาพ” อย่างไรก็ดีการขับเคลื่อนโมเดล BCG นั้นจำเป็นต้องมีการสร้างความร่วมมือและเครือข่ายของจตุภาคี อันได้แก่ ภาครัฐบาลและหน่วยงานในกำกับ ภาคการวิจัยและสถาบันการศึกษา ภาคอุตสาหกรรม และภาคชุมชน ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ โดยมีกลไกกระตุ้น (เช่น ยุทธศาสตร์การพัฒนา แผนพัฒนาพื้นที่ เครือข่ายวิจัยและพัฒนา และการสร้างตลาดเพื่อรองรับสินค้าและการบริโภค) และกลไกการขับเคลื่อนที่สำคัญ (เช่น โครงสร้างพื้นฐาน มาตรการทางการเงินและการคลัง การพัฒนากำลังคน และการแก้ไขกฎหมายและกฏระเบียบ) ในการขยับเขยื้อนเครือข่ายจตุภาคี


โดย ณ ปัจจุบัน รัฐบาลไยได้มีการเน้นย้ำถึงการขับเคลื่อนโมเดล BCG ใน ๔ กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพของประเทศไทย ได้แก่ เกษตรและอาหาร สุขภาพและการแพทย์ พลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ และการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งเกี่ยวพันกับการจ้างงานของคนในประเทศมากกว่า 16.5 ล้านคน


แนวคิดและการสนับสนุนของภาครัฐต่อกลุ่มอุตสาหกรรมนี้จะทำให้ท่านสามารถพิจารณาด้านของการพัฒนาสินค้าหรือบริการ การเข้าถึงตลาด และแนวคิดการบริหารจัดการที่สร้างความมั่งคั่งผ่านการช่วยเหลือต่อหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ลองสังเคราะห์ครับว่าจากแนวคิดนี้เราจะพัฒนาสินค้า หาแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่ม หรือมีข้อจำกัดที่จะต้องขอความช่วยเหลือจากภาครัฐหน่วยงานไหนบ้าง 

หากมีข้อคิดเห็นหรือเสนอแนะใดๆ ทักมาคุยกัหรือแอดมาเป็นเพื่อนกันที่ https://www.facebook.com/kmuttentrepreneurship/ 


หลักสูตรการจัดการการเป็นผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม (#EPM) เป็นหลักสูตรภายใต้การกำกับดูแลของบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม (#GMI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (#KMUTT)


สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ (02) 470-9795-6, 084-676-5885

LINE : @GMIKMUTT

หรือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://gmi.kmutt.ac.th/master_program

สนใจสมัครได้ที่ https://bit.ly/GMI_Apply 

#GMI #KMUTT #EPM

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

สำหรับท่านที่ต้องการต่อยอดความรู้ระดับ 'ปริญญาโท' ด้านความเป็นผู้ประกอบการนวัตรกรรมสามารถคลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม

เพิ่มเราเป็นเพื่อนในเฟสบุ๊คเพื่อรับข่าวสารและข้อมูลต่อยอดความเข้าใจ

[กดที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อน]

เรื่องที่น่าสนใจอื่น