DIGITAL TRANSFORMATION
"Make every technology commercialised"
ทำไมต้องทำทำการเปลี่ยนแปลงองค์กรไปสู่องค์กรดิจิทัล
เป็นที่ชัดเจนว่า เรากำลังเผชิญกับการใช้ชีวิต การทำธุรกิจบนโลกมีลักษณะผันผวน ไม่แน่นอน สลับซับซ้อน และกำกวม หรือที่เรียกว่า VUCA(Volatility, Uncertainty, Complexity และ Ambiguity) อันเนื่องจากผลกระทบจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีรากเหง้ามาจากเทคโนลีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT: Information and Communication Technology)
เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นหนึ่งในสามเทคโนโลยีสู่ยุคอนาคต ที่รวมถึงเทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีนาโน ซึ่งคือยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (4th Industrial Revolution) ที่เกิดการเชื่อมต่อระหว่างคนกับคอมพิวเตอร์อย่างไร้รอยต่อ (Seamless Interaction) อันนำไปสู่จักรวาลนฤมิต หรือ เมตาเวิร์ส (Metaverse)
ซึ่งการประกาศตัวสู่เมตาเวิร์สของแพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่ของโลก อย่างเฟซบุ๊ค (Facebook) และอีกหลายองค์กรในเวลาต่อมาทำให้เข้าสู่ยุคVUCA+ ในทันที อันหมายถึงเพิ่มดีกรีความผันผวน ความไม่แน่นอนฯ ขึ้นไปอีก เนื่องจากโลกจริงกับโลกเสมือนมีลักษณะเชื่อมโยงแบบไร้รอยต่อกันและกัน ดังนั้นเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ เพื่อความสามารถในการแข่งขัน จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงองค์กรไปสู่องค์กรดิจิทัลในหลากหลายมิติ รวมทั้งมิติทุนมนุษย์ (Human Capital) ที่ต้องได้รับการติดอาวุธใหม่ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และต้องทำอย่างเร่งด่วน (Economy of Speed) รวมถึงผลกระทบอันเนื่องมาจาก Covid-19 ที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่องค์กรดิจิทัลสู่ยุค New Normal เกิดวิถีชีวิตรูปแบบใหม่ การทำงานรูปแบบใหม่ กระบวนการทำงานที่ลดขั้นตอน เพิ่มประสิทธิภาพ กฎหมายใหม่ๆ พฤติกรรมผู้บริโภคแบบใหม่ๆ อาชญกรรมและภัยคุกคามใหม่ๆ ผู้นำแบบใหม่ๆ การกำกับดูแลที่ดีอย่างรู้เท่าทัน โมเดลธุรกิจที่ไม่เคยคาดคิด และวัฒนธรรมองค์กรที่ตอบโจทย์อนาคต
การเปลี่ยนแปลงองค์กรไปสู่องค์กรดิจิทัลคืออะไร
การเปลี่ยนแปลงองค์กรไปสู่องค์กรดิจิทัลคือ การเพิ่มความพร้อม (Readiness) หรือ วุฒิภาวะ (Maturity) ให้กับองค์กร เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงการปรับสมดุลองค์กรสู่โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่เรียกว่ายุคดิจิทัลเปลี่ยนโลก (Digital Disruption)
การเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่องค์กรดิจิทัล (Digital Transformation) คือวุฒิภาวะขั้นสูงสุดขององค์กรดิจิทัล (Digital Organization) ที่มีขั้นตอนดังนี้
Digitization คือ ขั้นตอนแรกที่แปลงเนื้อหา (Content) หรือ รูปวัตถุที่อยู่ในแบบของอะนาล็อก เช่น ภาพคน อาคาร เอกสาร เสียงพูด ฯลฯ ไปสู่ในรูปแบบดิจิทัล ด้วยเครื่องมือต่างๆกัน เช่น กล้องถ่ายภาพดิจิทัล โทรศัพท์เคลื่อนที่ CCTV เป็นต้น
Digitalization คือ ขั้นตอนที่ 2 เป็นขั้นตอนที่นำเนื้อหาที่เป็นดิจิทัล(Digital Content) ไปใช้งานทั้งนี้เป็นการนำไปใช้งานในกระบวนการหนึ่งหรือบางกระบวนการ (Process) ขององค์กร อาจเป็นกระบวนการทำงานหลัก หรือกระบวนการทำงานสนับสนุน
Digital Transformation คือ ขั้นตอนที่ 3 เป็นการนำเครื่องมือดิจิทัลเข้าไปในทุกกระบวนการของธุรกิจ สู่องค์กรดิจิทัลอย่างสมบูรณ์
ดูกรณีตัวอย่าง
กรณีศึกษา การปรับเปลี่ยนองค์ให้เป็นดิจิทัล (กรณีหน่วยงานภาครัฐ)
กลุ่มความรู้: กลยุทธ์
ประเภท: กรณีศึกษา
ลิขสิทธิ์: มีลิขสิทธิ์
โมเดลการเปลี่ยนแปลงองค์กรไปสู่องค์กรดิจิทัลของเรา
โมเดลการเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่องค์กรดิจิทัลของเรา
ผู้ให้ข้อมูล: ดร. อานนท์ ทับเที่ยง
หัวข้อ: โมเดลการเปลี่ยนแปลงองค์กรไปสู่องค์กรดิจิทัล (7-Factor of Digital transformation)
โมเดลการเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่องค์กรดิจิทัลของเรา ใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “7-factor Model” ซึ่งเกิดจากการทำวิจัยและการนำไปใช้จริงสั่งสมกันมา เป็น “Strategy Platform” สามารถนำไปใช้จริง เปลี่ยนแปลงองค์กรทั้งในระดับมหภาค (Macro) และระดับจุลภาค (Micro)
โมเดลการเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่องค์กรดิจิทัลประกอบไปด้วย 7 มิติของการทำการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
Citizen/Customer Engagement: สร้างความผูกพันกับผู้เกี่ยวข้อง (Stakeholder) ขององค์กรด้วยเครื่องมือดิจิทัล หากเป็นธุรกิจก็คือลูกค้า หากเป็นหน่วยงานรัฐก็คือประชาชน รวมถึงผู้มีส่วนได้เสีย เครื่องมือดิจิทัล เช่น Social Listening, Digital Marketing, Influencer, Digital Branding, Digital Engagement, Crisis Management (น้ำดีไล่น้ำเสีย) เป็นต้น
Digital Leadership: ผู้นำยุคดิจิทัล ที่ต้องมีทักษะใหม่ๆ ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรู้เท่าทัน เช่น Foresighting, Digital Project Management, Change Management และ Design Thinking เป็นต้น
Process Transformation: การเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานด้วยเครื่องมือดิจิทัล ด้วยการวิเคราะห์ ออกแบบ และใช้งาน ด้วยเครื่องมือต่างๆ เช่น Swimming Lane, DOWNTIME เป็นต้น ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุณภาพและราคา
New Business Modelling: โมเดลธุรกิจยุคดิจิทัล ที่ประกอบด้วย Business Model Canvas, Design Thinking, Don Tapscott’s New Business Models เป็นต้น
Digital Capability: ความสามารถขององค์กร ประกอบด้วยทักษะยุคดิจิทัล เช่น Digital Literacy, Digital Mindset รวมถึง Digital Culture และโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีที เช่น สถาปัตยกรรมองค์กร (EA: Enterprise Architecture), Technology Forecasting, Big Data, Blockchain, Metaverse (AR, VR, MR) เป็นต้น
Cybersecurity: ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ที่องค์กรจะต้องเตรียมความพร้อมให้พอเพียง ทั้งนโยบายการบริหารจัดการก่อน ระหว่าง และภายหลังจากภัยคุกคาม งบประมาณ รวมถึงเทคโนโลยีและบุคลากร เพื่อรับมือกับภัยคุกคามใหม่ๆ เช่น Ransomeware ฯลฯ โดยเฉพาะองค์กรที่ถูกกำหนดเป็น Critical Information Infrastructure (CII) ตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ อาทิ ด้านการเงิน ด้านพลังงาน ด้านโทรคมนาคม ด้านการขนส่ง ด้านสาธารณูปโภค ด้านสาธารณสุข ด้านบริการภาครัฐที่สำคัญ เป็นต้น
Digital Laws and Regulations: กฎหมายและกฎระเบียบด้านดิจิทัล ซึ่งในปัจจุบันนี้มีความเร่งด่วนในการที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA: Personal Data Protection Act) ที่มีผลบังคับใชเต็มรูปแบบ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งองค์กรจะต้องเตรียมความพร้อมรองรับกฎหมายใหม่นี้ที่บทลงโทษรุนแรง ทั้งในระดับนโยบายและการนำไปปฏิบัติทั่วทั้งองค์กร (Implementation) อย่างไรก็ตาม ยังมีกฎหมายที่มีผลบังคับใช้ไปแล้ว และที่จะมีผลในอนาคต เช่น กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ กฎหมายสินทรัพย์ดิจิทัล กฎหมายแพลตฟอร์ม กฎหมายดิจิทัลไอดี ซึ่งจะส่งผลต่อการทำธุรกิจขององค์กรได้
บริการของเรา
อบรมการปรับเปลี่ยนองค์กรไปสู่ดิจิทัล
เพื่อให้องค์กรมีความเข้าใจร่วมกันและสร้างความร่วมมือในการปรับเปลี่ยนองค์กรให้เป็นดิจิทัลเพื่อตอบสนองแรงกดดันจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี กฎหมาย และสังคม
การสร้างความเข้าใจ การพัฒนาแนวทางในการสร้างระบบจัดการความปลอดภัยส่วนบุคคลตามกฎหมายคุ้มครองความปลอดภัยบุคคลที่มีผลบังคับใช้วันที่ 1 มิถุนายน 2565
อบรมและให้คำปรึกษาด้านการวางแผนทางการตลาดดิจิทัล
การสร้างความสามารถในบการใช้เครื่องมือดิจิทัลในการพัฒนาธุรกิจหรือสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
ให้คำปรึกษาด้านการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของบุคคลากร
ประเมิน สร้างทักษะ ด้านการใช้และพัฒนาเครื่องมือดิจิทัลสำหรับการทำงานและการพาณิชย์
อบรมเชิงปฎิบัติการด้านการเปลี่ยนแปลงแนวคิดผู้นำองค์กรสู่ดิจิทัล
สร้างความเข้าใจ พัฒนาแนวคิด และมุมมองเชิงกลยุทธ์การปรับเปลี่ยนและใช้ประโยชน์ดิจิทัลของผู้นำองค์กรและผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันและปรับสมดุลย์องค์กร
วิเคราะห์และออกแบบสถาปัตยกรรมด้านดิจิทัลแก่องค์กร
วิเคราะห์ ออกแบบ สถาปัตยกรรมดิจิทัลองค์กรเพื่อรองรับบริการดิจิทัล และลดค่าใช้จ่ายจากการลงทุนระบบซ้ำซ้อน และสร้างภาระงานแก่คนในองค์กร
วิเคราะห์ อบรม และให้คำปรึกษาด้านการพัฒนาธรรมาภิบาลข้อมูล
สร้างความเข้าใจ ออกแบบนโยบาย และนำเครื่องมือดิจิทัลมากำกับดูแลการใช้ประโยชน์และการเปิดเผยข้อมูลภายใน ระหว่างองค์กร และสาธารณะ
วิเคราะห์และให้คำปรึกษาด้านความปลอดภัยของข้อมูลและระบบสารสนเทศ
ประเมิน ตรวจสอบ ให้คำปรึกษา รับรองและอบรมด้านความปลอดภัยของระบบสารสนเทศและข้อมูล
วิเคราะห์ อบรม และให้คำปรึกษาด้านการปรับปรุงและกระบวนการดำเนินการองค์กร
ปรับปรุงกระบวนการ ให้เพิ่มประสิทธิภาพด้านเวลา ลดต้นทุนและความซับซ้อนของระบบงาน โดยเสริมเครื่องมือด้านดิจิทัล
กลุ่มลูกค้าผู้ให้ความไว้วางใจเรา
ศูนย์นวพาณิชย์ มจธ. และร่วมส่งมอบแผนปฏิบัติการดิจิทัล ระยะ 5 ปี สกสค.
สำนักงานเลขานุการคณะรัฐมนตรี ภายใต้ทุนยุทธศาสตร์การปรับสมดุลย์ภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔
กระทรวงยุติธรรม ภายใต้ทุนยุทธศาสตร์การปรับสมดุลย์ภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๓
กระทรวงคมนาคม ภายใต้ทุนยุทธศาสตร์พัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๓