สร้างเนื้อหาด้วย 'คำตรงข้าม'

"CRAFT LAB: Make every technology commercialised"

LinkFacebookLinkYouTube

สร้างเนื้อหาด้วย 'คำตรงข้าม'

ผศ.ดร. ปารเมศ วรเศยานนท์ 

บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 

มื่อพยายามคิดเนื้อหาให้ดีแต่ยังไม่ปัง วันนี้เลยจะมาลองเทคนิกพัฒนาความคิดด้วยการใช้ 'ความตรงกันข้าม' ในการคิดและพัฒนาเนื้อหา เทคนิกนี้เรียกว่า 'การสร้างเนื้อหาด้วยความตรงกันข้าม' โดยมีตัวอย่างดังต่อไปนี้


แนวคิด

การคิดเนื้อความด้วยการใช้คำตรงกันข้ามนั้นเป็นการเอาคำที่ตรงกันข้ามมาใช้เพื่อ ทำให้เกิดความน่าสนใจ ทำให้จำ และส่งความรู้สึกได้ (ถ้าสามารถดึงไปถึงจุดนั้น) แต่หลัการคือต้องนำข้อความที่ต้องการสื่อไปสื่อให้ผู้รับสารเป้าหมายได้ (แปลว่าต้องมีกลุ่มผู้รับสารเป้าหมายชัดเจน มิใช้ใครก็ได้) 


กระบวนการในการคิด

กระบวนการคิดประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้

(1) การระบุกลุ่มผู้รับสารที่ชัดเจน

(2) ระบุ 'สิ่งที่ต้องการสื่อ' เช่น ประโยชน์สินค้า คุณค่าที่ได้จากสินค้า เรื่องราวหลักที่ต้องการเล่า

(3)  นำ 'สิ่งที่ต้องการสื่อ' (ในข้อ 2) มาระบุ 'คำ' หรือ 'วลี' สำคัญ เช่น ข้อความที่ต้องการสื่อเป็น น้ำผึ้ง (ยี่ห้อ X) มีความหวานจากธรรมชาติและเป็นน้ำผึ้งเดือนห้า  ดังนั้นคำหรือวลีที่สำคัญจะเป็น น้ำผึ้ง ยี่ห้อ X ความหวาน ธรรมชาติ เดือนห้า 

(4) นำ 'คำ' หรือ 'วลี' สำคัญ มาหาคำตรงข้ามมาหา'คำ' หรือ 'วลี' ตรงข้าม เช่น หวาน กับ ขม ธรรมชาติ กับ สังเคราะห์ 

(5) การสร้างและผสมข้อความที่มาจากคำตรงกันข้าม เช่น จากขมเป็นหวานจากธรรมชาติเป็นสังเคราะห์ให้บริสุทธ์  หรือ ธรรมชาติสู่เมือง จากความขมเป็นความหวาน ผ่านการสังเคราะห์ให้บริสุทธ น้ำผึ้ง (ยี่ห้อ X)

 

ดาวโหลดเครื่องมือ

ท่านสามารถดาวน์โหลดเครื่องมือช่วยคิดได้ที่นี่

หากมีข้อคิดเห็นหรือเสนอแนะใดๆ ทักมาคุยกัหรือแอดมาเป็นเพื่อนกันที่ https://www.facebook.com/kmuttentrepreneurship/ 


หลักสูตรการจัดการการเป็นผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม (#EPM) เป็นหลักสูตรภายใต้การกำกับดูแลของบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม (#GMI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (#KMUTT)


สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ (02) 470-9795-6, 084-676-5885

LINE : @GMIKMUTT

หรือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://gmi.kmutt.ac.th/master_program

สนใจสมัครได้ที่ https://bit.ly/GMI_Apply 

#GMI #KMUTT #EPM

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

สำหรับท่านที่ต้องการต่อยอดความรู้ระดับ 'ปริญญาโท' ด้านความเป็นผู้ประกอบการนวัตรกรรมสามารถคลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม

เพิ่มเราเป็นเพื่อนในเฟสบุ๊คเพื่อรับข่าวสารและข้อมูลต่อยอดความเข้าใจ

[กดที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อน]

เรื่องที่น่าสนใจอื่น