'หยวน' (RMB) ยังไปต่อได้หรือไม่ กับลมหายใจทางเศรษกิจที่ติดขัด

"CRAFT LAB: Make every technology commercialised"

LinkFacebookLinkYouTube

รูปแบบ: บทวิเคราะห์

เวลา: -

ประเภท: สร้างรายได้/เศรษฐกิจ

ประกาศนียบัตร: -

สนับสนุนโดย: -

'หยวน' (RMB) ยังไปต่อได้หรือไม่ กับลมหายใจทางเศรษฐกิจที่ติดขัด

ผศ.ดร. ปารเมศ วรเศยานนท์ 

บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตรกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 

มีคนถามเข้ามาว่าเศรษฐกิจจีนทำไมถึงดูไม่แข็งแรงเหมือนที่เคยเป็น และถ้าจะซื้อ 'หยวน' เหื่อเก็งกำไรจะยังอยู่ได้หรือไม้


วันนี้ต้องเข้าใจก่อนว่าเงินหยวนมีการแทรกแซงจากรัฐบาลโดยตลอดทำให้เกิดความบิดเบี้ยวของค่าเงิน ดังนั้นเงินหยวนจะเป็นสกุลที่การเก็งกำไรทำได้ยาก แต่ถ้าตอนนี้จะลองดูเงินหยวนว่าจะไปต่อได้ไกลขนาดไหนทั้งขาขี้ลและขาลง ก็ลองมาดูสภาพปัญหาทางเศรษฐกิจจีนกันตอนนี้หน่อย


การพัฒนาทางเศรษฐกิจของจีน


ใน 30 ปีที่ผ่านมาประเทศจีนมีการเปลี่ยนแปลงจากประเทศที่มีการพัฒนาต่ำและมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่พึ่งพาเทคโนโลยีน้อย  เพื่อให้มีการเติบโตที่ดีทางรัฐบาลจีนจึงได้มีแนวทางยุทธศาสตร์ในการสร้างเศรษฐกิจโดยการเปิดประเทศเพื่อรับการลงทุนเพิ่มเติม 


** สำหรับประเทศที่มีการปกครองในรูปแบบของคอมมิวนิสต์ ประชาชนจะไม่มีสิทธิในการครองครองที่ดิน แต่รัฐบาลจะจัดสรรคที่ดินให้กับประชาชนในรูปแบบสิทธิครอบครอง เช่น 70 - 99 ปี (หากแต่ความเป็นเจ้าของที่ดินนั้นยังอยู่ที่รัฐบาล) สำหรับการปกครองรูปแบบอื่น (เช่นประชาธิปไตยหรือสังคมนิยมประชาธิปไตย) ประชาชนจะมีความเป็นเจ้าของที่ดิน **


การเปิดประเทศเปิดรับการลงทุนเพิ่มของรัฐบาลจีนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบด้านการครอบครองสิทธิการใช้ที่ดินของชาวต่างชาติที่มากขึ้น นอกเหนือจากนั้นยังมีการสร้างให้เกิดการบริโภคที่เพิ่มขึ้นผ่านยกลไกของการพัฒนาความเป็นเมืองที่เน้น อสังหาริมทรัพย์ 


** โดยทั้วไปคนชั้นกลางและคนรากหญ้าจะเป็นกลุ่มบริโภค สำหรับกลุ่มที่เป็นกลุ่มรายได้สูงจะเป็นกลุ่มที่ เน้นครอบครองและลงทุนในทรัพย์สิน**


ความร้อนแรงของอสังหาริมทรัพย์จีน


เมื่อมีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ในเมืองที่เพิ่มขึ้นจากการลงทุนทางตรงและการบริโภคที่มากขึ้นทำให้อสังหาริมทรัพย์จีนมีราคาสูงขึ้นจนเรื่อยๆ จนถึงจุดสูงสุดที่ราคาอสังหาริมทรัพย์สูงกว่ารายได้เฉลี่ยของประชาชนต่อปีที่ระดับ 48 เท่า (นิวยอร์ค 7 เท่า กรุงเทพ 18 เท่า) เมื่ออสังหาริมทรัพย์ในเมืองแพงมากขึ้นก็เลยมีการไปพัฒนาเมืองรอบนอกเมืองใหญ่และสร้างสาธารณูปโภค โดยเริ่มมีการ 'PRE-ORDER' หรือการที่จ่ายก่อนได้บ้านที่หลัง ซึ่งการจ่ายก่อนได้ของที่หลังนี่แหละที่ทำให้ บริษัทอสังหาผุดโครงการขึ้นมาเรื่อยๆ อย่างร้อนแรง และประกอบด้วยเมื่ีอก่อนคนจีนจะเอาเงินเก็บมาซื้อบ้าน พอตอนหลังมีการปล่อยกู้ให้สามารถซื้อได้ขึ้น ยิ่งทำให้การซื้อ PRE SALE แบบกู้ยิ่งมากขึ้นเรื่อยๆ 


สัญญานวิกฤตเศรษฐกิจ


เพื่อลดความร้อนแรงของอสังหาริมทรัพย์ที่มีราคาสูงและมีความเสี่ยงจากการก่อหนี้ในระดับสูงของบริษัทอสังหา (จากการที่ต้องกู้เพิ่อไปสร้างอสังหาริมทรัพย์ในหลายๆ โครงการขนาดใหญ่) ทำให้รัฐบาลจีนออกมาจัดการปัญหาโดยให้ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์กู้ยากขึ้นในการซื้ออสังหาริมทรัพย์ แต่นโยบายของรัฐบาลที่ต้องการลดความร้อนแรงนี้มองข้ามกลุ่มที่ PRE-ORDER ไปเพราะโครงการที่ขึ้นแล้วและมียอดซื้อก่อนส่งแล้วทางบริษัทก็ยังต้องสร้างเพื่อส่งมอบ แต่ปัญหาอยู่ที่คนซื้อใหม่ซื้อได้ยากขึ้น โครงการที่ขึ้นเยอะแบบได้เงินมาก่อนบางส่วนก็ต้องสร้างต่อให้เสร็จ ก้เลยทำให้บริษัทเริ่มมีปัญหาสภาพคล่อง และเมื่อต้องการกู้ยืมเงินใยการก่อสร้างต่อก็เริ่มมีข้อจำกัดมากขึ้น เป็นผลให้หลายโครงการเริ่มสร้างไม่เสร็จและส่งมอบไม่ได้ ประชาชนที่จ่ายเงินไปก่อนและผ่อนอยู่โดยคาดหวังว่าจะได้บ้านก็ไม่ได้ และเริ่มหยุดส่ง ทำให้บริษัทอสังหาขนาดใหญ่เริ่มมีปัญหาการจ่ายเงินคู่ค้าและเริ่มไม่มีเงินส่งคืนธนาคาร ทำให้ต้องมีการผิดนัดชำระเงินกู้มากขึ้นจาก 1 บริษัท ก็เป็นหลายบริษัท และส่งผลต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจอย่าวมากของประเทศจีน


** ปัจจุบันคาดว่ามีโครงการอสังหาที่สร้างไม่เสร็จหรือส่งมอบไม่ได้ หรือเสร็จแต่ขายได้ไม่หมดและกลายเป็นเมืองร้าง มีมากกว่า 68 ล้านห้อง ** 


การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ


ณ ปัจจุบันรัฐบาลจีน มีการเตรียมงบประมาณในการแก้ปัญหาภาคธนาคารและอสังหาริมทรัพย์อยู่ หากแต่ความเสียหายมีมูลค่าสูงมาก ทำให้การแก้ปัญหายังต้องใช้ระยะเวลาอยู่ 


เงินหยวนจะขึ้นหรือจะลงและควรเข้าไปซื้อเพื่อสร้างโอกาสในวิกฤติหรือไม่


ด้วยการแทรกแทรงค่าเงินของรัฐบาลจีนเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจทำให้การเข้าซื้อขายเงินในสกุลหยวนไม่น่าสนใจนัก และการขึ้นลงของราคาไม่คุ้มค่าต่อการเข้าทำการซื้อขายระยะสั้น จึงขอแนะนำ 'ขาย' ถ้าถืออยู่ (หรือคอยให้เศรษฐกิจดีขึ้นหน่อย) และแนะนำ 'ไม่ซื้อ' เพื่อเก็งกำไร

หากมีข้อคิดเห็นหรือเสนอแนะใดๆ ทักมาคุยกัหรือแอดมาเป็นเพื่อนกันที่ https://www.facebook.com/kmuttentrepreneurship/ 


หลักสูตรการจัดการการเป็นผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม (#EPM) เป็นหลักสูตรภายใต้การกำกับดูแลของบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม (#GMI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (#KMUTT)


สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ (02) 470-9795-6, 084-676-5885

LINE : @GMIKMUTT

หรือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://gmi.kmutt.ac.th/master_program

สนใจสมัครได้ที่ https://bit.ly/GMI_Apply 

#GMI #KMUTT #EPM

เรื่องที่น่าสนใจอื่น

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

สำหรับท่านที่ต้องการต่อยอดความรู้ระดับ 'ปริญญาโท' ด้านความเป็นผู้ประกอบการนวัตรกรรมสามารถคลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม

เพิ่มเราเป็นเพื่อนในเฟสบุ๊คเพื่อรับข่าวสารและข้อมูลต่อยอดความเข้าใจ

[กดที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อน]