Lanstay PDPA Compliance

" แนวฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจลานสเตย์ขนาดย่อย (Micro)"

โครงการวิจัยและพัฒนาแนวปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 สำหรับผู้ประกอบการขนาดย่อมและขนาดย่อย (Micro and Small Enterprises MSME) โดยทีมวิจัย สาขาการจัดการธุรกิจดิจิทัล (DBM) และศูนย์พาณิชยกรรมเทคโนโลยี (Craft Lab) บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม (GMI)  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (KMUTT)

กระบวนการวิจัยแนวฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ผู้ประกอบการขนาดย่อย (Micro) ธุรกิจลานสเตย์ ของชุมชนบางกะม่า แหล่งท่องเที่ยวในตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี ระยะเวลาดำเนินการ 18 กุมภาพันธ์ - 1 มิถุนายน 2566

การส่งมอบงานวิจัยแนวฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ผู้ประกอบการขนาดย่อย (Micro) ธุรกิจลานสเตย์ ของชุมชนบางกะม่า แหล่งท่องเที่ยวในตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี วันที่ 24 มิถุนายน 2566

สรุปผลการวิจัยแนวฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ผู้ประกอบการขนาดย่อย (Micro) ธุรกิจลานสเตย์ ของชุมชนบางกะม่า แหล่งท่องเที่ยวในตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี

กลุ่มตัวอย่าง

ผู้ประกอบการขนาดย่อย (Micro) ธุรกิจลานสเตย์ จำนวน 2 ราย จากทั้งหมด 9 ราย

1.  ลานสเตย์ชราลานบางกะม่า เจ้าของดำเนินกิจการเอง 2 คน

2.  ลานกางเตนท์ไร่ป้ากะเหรี่ยง เจ้าของดำเนินกิจการเอง 1 คน

 

วัตถุประสงค์ของงานวิจัย

1.  เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

2.  เพื่อพัฒนากระบวนการและเครื่องมือให้กับผู้ประกอบการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA)

3.  เพื่อสร้างประกาศด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Notice) ให้กับผู้ประกอบการในการนำไปใช้งานให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

 

เครื่องมือที่ใช้ในการทำการวิจัย

ผู้วิจัยใช้รูปแบบของการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบปลายเปิด เพื่อให้ผู้ประกอบการมีโอกาสในการตอบแบบอิสระดเครื่องมือ

1.  แบบสอบถามคำถามบทสัมภาษณ์เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการทบทวนวรรณกรรมในการทำวิจัย

2.  แบบสำรวจกิจกรรมการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล (Data Inventory Mapping) เพื่อใช้กำหนดแนวปฏิบัติตาม PDPA และสร้างประกาศความเป็นส่วนตัวให้กับกลุ่มตัวอย่าง


สรุปผลการดำเนินการวิจัย

ด้านประสบการณ์ ความรู้ และการใช้งานจริง PDPA กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกอบการขนาดย่อย  (Micro) ทำธุรกิจลานสเตย์ คือ ให้เช่าพื้นที่และอุปกรณ์สำหรับกางเต็นท์ เพื่อสร้างรายได้เสริมจากอาชีพหลักคือ เกษตรกร ชาวไร่ ชาวสวน โดยส่วนใหญ่ทราบว่ามีกฎหมาย PDPA แต่มีความรู้น้อยมากถึงไม่มีเลย ไม่ทราบถึงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น

 

ด้านการเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าที่เข้าพัก จากผู้ประกอบการ 9 ราย มีเพียงบางรายที่มีการจัดเก็บข้อมูลในสมุดบันทึก และหนึ่งรายที่บันทึกอยู่ในโทรศัพท์มือถือของเจ้าของผู้ประกอบการ โดยส่วนใหญ่ไม่ได้มีการจัดเก็บโดยถูกต้องตามรูปแบบของกฎหมายนี้ ไม่มีการจัดการ วิธีการ หรือการให้ความสำคัญในเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล ไปจนถึงวิธีการในการทำลายข้อมูล และยังไม่เคยมีเกิดเหตุการณ์รั่วไหลของข้อมูลจึงยังไม่มีวิธีการในการจัดการกับข้อมูลที่รั่วไหล

 

ด้านความตระหนักในการปฏิบัติตาม PDPA ผู้ประกอบการทั้ง 9 ราย ตระหนักถึงการปรับปรุงกระบวนให้สอดคล้องกับ PDPA เชื่อว่าจะช่วยให้กระบวนการจัดเก็บข้อมูลมีประสิทธิภาพ ช่วยให้เกิดความรู้ใหม่ และช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าตามลำดับ โดยปัจจัยความคาดหวังของสังคมมีอิทธิพลมากที่สุดต่อความตั้งใจปฏิบัติตาม PDPA และปัจจัยสิ่งอำนวยความสะดวกที่ส่งผลให้ปฏิบัติตาม PDPA ง่ายขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ได้แก่ การใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีช่วยตรวจสอบ, การสร้างและดูแลคู่มือ PDPA และการใช้โปรแกรมหรือเทคโนโลยีเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลตามลำดับ

 

ด้านผลลัพธ์เครื่องมือแนวปฏิบัติตาม PDPA สำหรับลานสเตย์ชราลานบางกะม่า   และลานกางเตนท์ไร่ป้ากะเหรี่ยง ได้แก่

1.  ประกาศการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Notice)

1.1.  ในรูปแบบของสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับบริเวณลานสเตย์

1.2.  ในรูปแบบข้อความและรูปภาพสำหรับ Facebook Post

2.  คู่มือแนวปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

3.  แบบฟอร์มใบยินยอมให้เก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

4.  แบบฟอร์มใบบันทึกเหตุละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล

5.  ธงสัญลักษณ์ความเป็นส่วนตัว สำหรับลูกค้าที่ระบุไม่ยินยอมให้ถ่ายภาพนิ่ง/ภาพเคลื่อนไหวในใบยินยอม


รายนามทีมวิจัยและพัฒนา GMI KMUTT

ที่ปรึกษา

ผศ.ดร. วรพจน์ อังกสิทธิ์

ดร. อานนท์ ทับเที่ยง

ผศ.ดร. ปารเมศ วรเศยานนท์

 

ผู้เชี่ยวชาญ

นางสาวอัจฉรา  สุขสาคร

 

นักวิจัย

นายภูสิทธิ  ไตรพลรัตน

นายวิศิษฏ์  เม่นทรัพย์

นางสาวภัคจ์ศกร  วงษ์จำรัส

นางสาวระวีวรรณ  ขันติวิริยะพานิช

นายณรธัชพงษ์  มีเชื้อ

นางสาวปวีณา  มณีวงษ์

นางสาวอรอนงค์  พุ่มดารา

นางสาวผุสรัตน์ วิจิตรปรีชากุล

 

ผู้สนับสนุนโครงการวิจัย

ผศ. นันทนา บุญลออ  คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มจธ.

ผศ.ดร. บุษเกตน์ อินทรปาสาน  คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มจธ.


#pdpaร่วมด้วยช่วยกัน #pdpaกันไว้ดีกว่าแก้ #PDPAforMSME #PDPA #CRAFTLAB #CraftLabbyKMUTT #KMUTT7factors #DBM #EPM #digitaltransformation

คู่มือแนวปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 สำหรับ ลานสเตย์ชราลานบางกะม่า

ลานสเตย์ชราลานบางกะม่า เป็นผู้ประกอบการขยาดย่อย (Micro) ธุรกิจลานสเตย์ของชุมชนบางกะม่า แหล่งท่องเที่ยวในตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี มีกิจกรรมทางธุรกิจ คือ การให้เช่าพื้นที่และอุปกรณ์สำหรับกางเต็นท์ โดยข้อมูลส่วนบุคคลที่ใช้ในการประมวลผลคือ ชื่อ-นามสกุล เบอร์โทร ที่อยู่ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และข้อมูลที่ใช้ในการติดต่ออื่น เช่น อีเมล ไอดีของบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ 

ดาวน์โหลดคู่มือ

คู่มือแนวปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 สำหรับ ลานกางเต็นท์ไร่ป้ากะเหรี่ยง

ลานกางเต็นท์ไร่ป้ากะเหรี่ยง เป็นผู้ประกอบการขยาดย่อย (Micro) ธุรกิจลานสเตย์ของชุมชนบางกะม่า แหล่งท่องเที่ยวในตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี มีกิจกรรมทางธุรกิจ คือ การให้เช่าพื้นที่และอุปกรณ์สำหรับกางเต็นท์ โดยข้อมูลส่วนบุคคลที่ใช้ในการประมวลผลคือ ชื่อ-นามสกุล เบอร์โทร ที่อยู่ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และข้อมูลที่ใช้ในการติดต่ออื่น เช่น ไอดีของบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ 

ดาวน์โหลดคู่มือ

บทความอื่นที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA)

บทความโดย

อัจฉรา สุขสาคร

นักวิจัย Craft Lab by KMUTT

วิทยากรอาสา PDPA Train The Trainer

นักจัดการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล คุณวุฒิวิชาชีพระดับ 6

Facebook