ลูกค้าลังเลไม่ซื้อ กลัวอะไร?

"CRAFT LAB: Make every technology commercialised"

LinkFacebookLinkYouTube

รูปแบบ: ความรู้ต่อยอด

เวลา: -

ประเภท: กระบวนการตัดสินใจ/การตลาด

ประกาศนียบัตร: -

สนับสนุนโดย: EPM, GMI, KMUTT

ลูกค้าลังเลไม่ซื้อ กลัวอะไร?

ผศ.ดร. ปารเมศ วรเศยานนท์ 

บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตรกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 

หลายครั้งลูกค้าเดินมาที่ร้านและเหมือนว่าเขาจะซื้อและแต่ก็ยังไม่ซื้อ หรือหลายครั้งเขาสัญญาจะซื้อแต่ก็ไม่ติดต่อกลับมา จริงๆ แล้วเขาเจอที่อื้่นที่ถูกกว่าเหรอ? แต่หลายครั้งก็ไม่เห็นเขาไปตัดสินใจซื้อที่ไหน และก็เดิมมาคุยกับเราอีกและก็ยังไม่ซื้ออีก เอ๊ะ...ยังไง! 


ความกลัวคือสิ่งหนึ่งที่หยุดให้ลูกค้ายังไม่ตัดสินใจซื้อ ณ จุดนั้น ทำให้ลังเล ถึงวแม้มีความตั้งใจจะซื้อแล้ว วันนี้มาคุยกันเรื่องควากลัวของลูกค้าต่อการซื้อของที่ถ้าท่าน (ผู้ประกอบการ) รู้แล้วไปหาทางแก้ รับรองไม่ผิดหวัง 


'ความเสี่ยง' ที่ทำให้ลูกค้าลังเลและไม่ตัดสินใจซื้อทันที ประกอบด้วย 6 ความเสี่ยง ได้แก่


(1) ความเสี่ยงด้านการเงิน เป็นความกังวลว่าการใช้เงินในครั้งนี้จะกระทบกับความจำเป็นเรื่องอื่นหรือไม่ อย่างไร (ทำให้ยังชลอการตัดสินใจ) - "ควรเอาเงินไปทำอย่างอื่นก่อนหรือไม่ หรือมีเงินเพียงพอหรือไม่ถ้ามีค่าใช้จ่ายแบบนี้และต้องจ่ายต่อเนื่อง"


(2) ความเสี่ยงด้านคุณภาพ (เชิงกายภาพ) เป็นความกังวลว่าสินค้าที่จะซื้อมาจะไม่ได้คุณภาพตามมาตรฐาน หรืออาจทำให้เกิดอันตรายจากการใช้งาน (ทำให้อาจะต้องกลับไปหาข้อมูลเพิ่ม) - "สินค้านี้จะไม่ระเบิดระหว่างใช้ใช่หรือไม่ น่ากังวล"


(3) ความเสี่ยงด้านประสิทธิภาพ (ผลการใช้งาน) เป็นความกังวลว่าสิ่งที่ซื้อมาจะไม่สามารถทำงานได้ (หรือได้รับประโยชน์) อย่างที่คาดหวัง (ทำให้อาจะต้องกลับไปหาข้อมูลเพิ่ม) - "ซื้อมาและจะใช้ได้อย่างที่เขาบอกหรือไม่ เจอจริงๆ แล้วมันไม่น่าจะได้นะ"


(4) ความเสี่ยงเชิงสังคมและจิตวิทยา เป็นความเสี่ยงจากการที่สินค้าหรือบริการจะทำให้ผู้ใช้ เสียความมั่นใจ จากการซื้อสินค้าหรือบริการมา - "ซื้ออันนี้ดิเหมาะกันผู้ใหญ่ เขาจะได้ไม่ว่าเอา"


(5) ความเสี่ยงด้านเวลา เป็นความกังวลใจว่าจะต้องเสียเวลาจากความยุ่งยาก ถ้าสินค้าหรือบริการไม่สามารถสร้างประโยชน์ได้ตามความคาดหวัง (ซึ่งอาจเกิดได้จากการคอยบริการ การเข้ากันไม่ได้ของสินค้ากับสิ่งที่มีอยู่ หรือสถานะ หรือด้านคุณภาพ) - "ซื้ออันนั้นไปก็ต้องมาลุ้นอีกว่าเขาจะมาติดตั้งให้เมื่อไหร่ มันเสียเวลารอ"


(6) ความเสี่ยงด้านการดูแลหลังการขาย เป็นความกังวลใจว่าสินค้าที่ได้หากไม่เป้นไปตามที่คาดหวังและจะทำยังไรกับสินค้า บริการ หรือข้อผูกมัดที่เกี่ยวข้อง


แนวทางการลดความเสี่ยงของลูกค้า


ดังนั้นการที่ลูกค้าจะลดความ 'กลัว' จากความเสี่ยงดังเกล่าเหล่านี้ เลยทำให้ลูกค้าเลือกที่จะ (1) หาข้อมูลเพิ่ม (2) กลับไปใช้ตราสินค้าที่คุ้นเคย (3) เข้าหาผู้ขายที่ไว้ใจ (4) ซื้อของที่มีราคาสูง (5) มองหาการรับประกันความเสี่ยง เช่น หาอันที่รับประกันสินค้า หรือมีให้ทดลองใช้ 


แนวทางในการจัดการความรู้สึก กังวลใจ ของลูกค้า


การจัดการความเสี่ยงหรือความกลัวของลูกค้าสามารถทำได้ 10 ด้าน โดยพื้นฐาน อันได้แก่


(1) การให้ข้อมูลอย่างละเอียด 

(2) การมีลูกค้าคนอื่นช่วยรีวิวหรือแชร์ประสบกา่รณ์

(3) การมีสิ่งที่จับต้องได้รับประกันคุณภาพ เช่น เอกสารรับประกัน สัญญา ข้อตกลง การคืนเงินหรือใช้ผู้มีความน่าเชื่อถือนำเสนอสินค้าหรือบริการ

(4) การมีสินค้าทดลองหรือให้ของแถม

(5) มีนโยบายการคืนสินค้าที่ชัดเจน และการมีทีมงานสนับสนุนหลังซื้อที่มีการตอบสนองดีและรวดเร็ว

(6) มีการแนะนำการประกอบ และการใช้งานอย่างชัดเจน 

(7) ได้รับการรับรองจากสถาบันหรือหน่วยงาน

(8) มีระบบการจ่ายเงินที่ชัดเจนและน่าเชื่อถือ

(9) สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าต่อเนื่อง และมีช่องทางให้ลูกค้าสามารถติดต่อได้ง่าย

(10) ใช้ช่องทางและคู่ค้าที่ได้รับการยอมรับ

หากมีข้อคิดเห็นหรือเสนอแนะใดๆ ทักมาคุยกัหรือแอดมาเป็นเพื่อนกันที่ https://www.facebook.com/kmuttentrepreneurship/ 


หลักสูตรการจัดการการเป็นผู้ประกอบการ นวัตกรรม และความยั่งยืน (#EPM) เป็นหลักสูตรภายใต้การกำกับดูแลของบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม (#GMI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (#KMUTT)


สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่  (02) 470-9799, (02) 470-9795-6, 084-676-5885

LINE : @GMIKMUTT

หรือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://gmi.kmutt.ac.th/th/study-with-us/epm/ 

สนใจสมัครได้ที่ https://bit.ly/GMI_Apply 

#GMI #KMUTT #EPM


CRAFT LAB เตรียมความพร้อมในการพัฒนานักวิจัยให้เป็นผู้จัดการผลิตภัณฑ์ที่สามารถมีทักษะและความรู้ที่ควรเป็น อย่างมีผลลัพธ์ สนใจทักมาคุยกับได้ที่ Line: @061jlshn  หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่

เรื่องที่น่าสนใจอื่น

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

สำหรับท่านที่ต้องการต่อยอดความรู้ระดับ 'ปริญญาโท' ด้านความเป็นผู้ประกอบการนวัตรกรรมสามารถคลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม

เพิ่มเราเป็นเพื่อนในเฟสบุ๊คเพื่อรับข่าวสารและข้อมูลต่อยอดความเข้าใจ

[กดที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อน]