สร้างเนื้อหาด้วย 'การเกาะกระแส'
"CRAFT LAB: Make every technology commercialised"
สร้างเนื้อหาด้วย 'การเกาะกระแส'
ผศ.ดร. ปารเมศ วรเศยานนท์
บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
แนวคิด
การสร้างเนื้อหาด้วย 'การเกาะกระแส' เป็นการนำกระแสที่สังคมกำลังพูดถึงมาเชื่อมโยงกับแบรนด์อย่างสมดุลย์และกลมกลืน (ต้องเชื่อมและกลมกลืน) เช่น จากกระแสการฆ่าเสือดำ อาจจะสร้างเนื้อหา "ไม่ต้องออกล่า 10 ร้าน อาหารป่ก็กินได้ไม่ผิดกฎหมาย"
สถานการณ์ในการใช้งาน
เน้นพัฒนาเนื้อหาออนไลน์สำหรับสื่อออนไลน์ที่จะนำไปสู่การให้ข้อมูลเพิ่มเติมในเว็บไซต์ ดังนั้นจึงนะเน้นเพิ่มยอดไลค์ ยอดแชร์ และสร้างสีสัน
กระบวนการในการคิด
กระบวนการคิดประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้
(1) การระบุกลุ่มผู้รับสารที่ชัดเจน
(2) เสาะหาและจับกระแส โดยพิจารณาถึงกระแสที่คนในกลุ่มเป้าหมายพูดถึง พิจารณาว่ากระเสนี้เข้ากับบุคลิกของแบรนด์เราหรือไม่ และเราเข้าไปเล่นทันหรือไม่ (หรือเอาท์ไปแล้ว)
(3) ชัดเจนเรื่อง'สิ่งที่ต้องการสื่อ' ในมิติของแบรนด์หรือ/และสินค้า โดยเน้นต้องระบุจุดเด่นสินค้า บุคคลิกของแบรนด์ (เทียบกับคนยแล้วแบรนด์นี้มีบุคลิกและนิสัยอย่างไร) และสินค้าหรือแบรนด์ให้ประโยชน์หรือมอบคุณค่าอะไรให้ลูกค้า (หรือผู้รับสาร)
(4) นำข้อ (2) + (3) และพัฒนาเนื้อความพร้อมเก็บรายละเอียดข้อเนื้อความที่ใช้ในการสื่อสาร โดยใส่เทคนิคการการเขียนรูปแบบต่างๆ เข้ามาด้วย (เช่น การใช้คำดึงดูด การใช้คำซ้ำ การใช้คำเฉพาะเจาะจง การใช้คำอุปมาอุปมัย หรือใช้คำตรงกันข้าม) และค่อยมาเก็ยรายละเอียดเนื้อความ
ข้อความแบบไหนที่ 'ดี' สำหรับการเขียนแบบจับกระแส
รวดเร็วตามกระแส
เนื้อหาเป็นประโยชน์กับผู้รับสาร
ต้องมีความเฉพาะและเป็นตัวเอง (ตามบุคลิกของแบรนด์) และไม่ซ้ำ
มีความแตกต่าง
ตัวอย่างการคิด (ตัวอย่างที่ 1)
(1) การระบุกลุ่มผู้รับสารที่ชัดเจน: กลุ่มผู้มีมรดกและชอบดูละคร
(2) เสาะหาและจับกระแส: กระแสละครเลือดข้นคนจาง
(3) ชัดเจนเรื่อง'สิ่งที่ต้องการสื่อ': ต้องการให้ความรู้เรื่องมรดก
(4) นำข้อ (2) + (3) และพัฒนาเนื้อความพร้อมเก็บรายละเอียดข้อเนื้อความ: "นาย (ชื่อตัวละคร) ตายใครได้มรดก ได้เท่าไหร่บ้าง"
ตัวอย่างการคิด (ตัวอย่างที่ 2)
(1) การระบุกลุ่มผู้รับสารที่ชัดเจน: กลุ่มชอบดูละคร
(2) เสาะหาและจับกระแส: ละครบุปเพสันนิวาส
(3) ชัดเจนเรื่อง'สิ่งที่ต้องการสื่อ': เรื่องบุฟเฟ่ต้องบาบีกอน
(4) นำข้อ (2) + (3) และพัฒนาเนื้อความพร้อมเก็บรายละเอียดข้อเนื้อความ: "ที่ไหนรับส่งของผ่านมิติ จะส่งกระทะไปให้ออเจ้า การะเกด"
ตัวอย่างการคิด (ตัวอย่างที่ 3)
(1) การระบุกลุ่มผู้รับสารที่ชัดเจน: กลุ่มชอบดูละครและช๊อปปิ้งออนไลน์
(2) เสาะหาและจับกระแส: ละครบุปเพสันนิวาส
(3) ชัดเจนเรื่อง'สิ่งที่ต้องการสื่อ': ต้องการขายลิปสติกสีต่างๆ
(4) นำข้อ (2) + (3) และพัฒนาเนื้อความพร้อมเก็บรายละเอียดข้อเนื้อความ: "ลิปสติกแบบการะเกด สวยเป๊ะเหมือนแม่หญิงด้วยงบ 300 บาท"
ลองทำดู
(1) กลุ่มผู้รับสารที่ชัดเจน: ______________________________________________________________
(2) เสาะหาและจับกระแส: "___________________________________________"
(3) ชัดเจนเรื่อง'สิ่งที่ต้องการสื่อ': ______________________________________________________
(4) นำข้อ (2) + (3) และพัฒนาเนื้อความพร้อมเก็บรายละเอียดข้อเนื้อความ: ลองสัก 20 ประโยค
(ข้อความ 1) _____________________________________________________________
(ข้อความ 2) _____________________________________________________________
(ข้อความ 3) _____________________________________________________________
(ข้อความ 4) _____________________________________________________________
(ข้อความ 5) _____________________________________________________________
(ข้อความ 6) _____________________________________________________________
(ข้อความ 7) _____________________________________________________________
(ข้อความ 8) _____________________________________________________________
(ข้อความ 9) _____________________________________________________________
(ข้อความ 10) _____________________________________________________________
(ข้อความ 11) _____________________________________________________________
(ข้อความ 12) _____________________________________________________________
(ข้อความ 13) _____________________________________________________________
(ข้อความ 14) _____________________________________________________________
(ข้อความ 15) _____________________________________________________________
(ข้อความ 16) _____________________________________________________________
(ข้อความ 17) _____________________________________________________________
(ข้อความ 18) _____________________________________________________________
(ข้อความ 19) _____________________________________________________________
(ข้อความ 20) _____________________________________________________________
(5) เลือกข้อความที่ใช่มากที่สุดที่มีเทคนิคคำซ้ำ (จาก (5)): _____________________________________
ข้อควรระวังสำหรับการพัฒนาเนื้อหาตามกระแส
มาเร็วไปเร็ว ใช้ได้รอบเดียว
ถ้าเกาะกระแสช้าหรือทำไม่สมดุลย์จะดูไม่ดึงดูด
หากเกาะกระแสลบ อาจได้ผลตอบรับทางลบ
ระวังโดนกระแสกลบ (คนที่เสพเนื้อหาตามกระแสเรามี แต่คนจำสินค้าหรือแบรนด์ไม่ได้)
เทคนิคเพิ่มเติม: การเอาของเก่ามาใช้ซ้ำ
ถ้าจะเอาเนื้อหาเก่ามาปรับปรุงใหม่โดยเอากระแสมาเล่นสามารถทำได้ โดยมีขั้นตอนและแนวคิดดังนี้
(1) การระบุกลุ่มผู้รับสารที่ชัดเจน
(2) เสาะหาและจับกระแส
(3) ระบุหัวหัวข้อหรือเนื้อหาเก่า
(4) นำข้อ (2) + (3) และพัฒนาเนื้อความใหม่
ตัวอย่างการคิดแบบนำของเก่ามาใช้ (ตัวอย่างที่ 1)
(1) การระบุกลุ่มผู้รับสารที่ชัดเจน: กลุ่มชอบเสพข่าวดราม่า
(2) เสาะหาและจับกระแส: เพื่อถามว่าอายหรือไม่ จบปริญญาตรีแต่มาขายขนมเบื้อง
(3) ระบุหัวหัวข้อหรือเนื้อหาเก่า: ค่าใช้จ่ายสาวบ้านนา VS สาวเมืองกรุง
(4) นำข้อ (2) + (3) และพัฒนาเนื้อความพร้อมเก็บรายละเอียดข้อเนื้อความ: "ขายขนมเบื้องในต่างจังหวัด VS ทำงานออฟฟิสในเมือง"
ตัวอย่างการคิดแบบนำของเก่ามาใช้ (ตัวอย่างที่ 2)
(1) การระบุกลุ่มผู้รับสารที่ชัดเจน: กลุ่มชอบเสพข่าวดราม่า
(2) เสาะหาและจับกระแส: มรดกเลือดปมการฆาตกรรมหลังแบ่งมรดก
(3) ระบุหัวหัวข้อหรือเนื้อหาเก่า: ค่าใช้จ่ายสาวบ้านนา VS สาวเมืองกรุง
(4) นำข้อ (2) + (3) และพัฒนาเนื้อความพร้อมเก็บรายละเอียดข้อเนื้อความ: "ใช้เงินมรกดต่างจังหวัด VS ใช้เงินมรดกในเมืองกรุง"
ตัวอย่างการคิดแบบนำของเก่ามาใช้ (ตัวอย่างที่ 3)
(1) การระบุกลุ่มผู้รับสารที่ชัดเจน: กลุ่มที่มีความสนใจด้านการเงิน/หุ้น
(2) เสาะหาและจับกระแส: มรดกเลือดปมการฆาตกรรมหลังแบ่งมรดก
(3) ระบุหัวหัวข้อหรือเนื้อหาเก่า: มือใหม่อยากเล่นหุ้นทำอย่างไร
(4) นำข้อ (2) + (3) และพัฒนาเนื้อความพร้อมเก็บรายละเอียดข้อเนื้อความ: "รวยด้วยหุ้นไม่ต้องลุ้นมรดก"
หากมีข้อคิดเห็นหรือเสนอแนะใดๆ ทักมาคุยกัหรือแอดมาเป็นเพื่อนกันที่ https://www.facebook.com/kmuttentrepreneurship/
หลักสูตรการจัดการการเป็นผู้ประกอบการ นวัตกรรม และความยั่งยืน (#EPM) เป็นหลักสูตรภายใต้การกำกับดูแลของบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม (#GMI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (#KMUTT)
สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ (02) 470-9799, (02) 470-9795-6, 084-676-5885
LINE : @GMIKMUTT
หรือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://gmi.kmutt.ac.th/th/study-with-us/epm/
สนใจสมัครได้ที่ https://bit.ly/GMI_Apply
CRAFT LAB เตรียมความพร้อมในการพัฒนานักวิจัยให้เป็นผู้จัดการผลิตภัณฑ์ที่สามารถมีทักษะและความรู้ที่ควรเป็น อย่างมีผลลัพธ์ สนใจทักมาคุยกับได้ที่ Line: @061jlshn หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
สำหรับท่านที่ต้องการต่อยอดความรู้ระดับ 'ปริญญาโท' ด้านความเป็นผู้ประกอบการนวัตรกรรมสามารถคลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
เพิ่มเราเป็นเพื่อนในเฟสบุ๊คเพื่อรับข่าวสารและข้อมูลต่อยอดความเข้าใจ
เรื่องที่น่าสนใจอื่น