P1 - TECHNOLOGY COMMERCIALIZATION CONSULTANT

GMI X KMUTT SCIENCE PARK

ข้อกำหนดโครงการ

กลุ่มผู้เข้าร่วมอบรมและรับคำปรึกษา

(1) ธุรกิจ (Startup) หมายถึง ธุรกิจเกิดใหม่ที่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการในรูปแบบธุรกิจนวัตกรรม (Business Model Innovation) มีลักษณะธุรกิจดังนี้

1) เป็นธุรกิจที่สามารถทำซ้ำได้ (Repeatable) 

2)  เป็นธุรกิจที่สามารถขยายตลาด (Scalable) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

3)เป็นธุรกิจที่สามารถเติบโตอย่างก้าวกระโดด (Exponential Growth)

(2) ธุรกิจ (SME) ; ตามคำจำกัดความตามกฎกระทรวง จำแนกลักษณะของธุรกิจออกเป็นขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2562 ได้แก่ กิจการที่มีขนาดธุรกิจลักษณะดังนี้

ธุรกิจขนาดย่อม

1) กิจการผลิตสินค้าที่มีจำนวนการจ้างงานไม่เกินห้าสิบคนหรือมีรายได้ต่อปีไม่เกินหนึ่งร้อยล้านบาท

2) กิจการให้บริการ กิจการค้าส่ง หรือกิจการค้าปลีกที่ มีจำนวนการจ้างงานไม่เกินสามสิบคนหรือมีรายได้ต่อปีไม่เกินห้าสิบล้านบาท

ธุรกิจขนาดกลาง

1) กิจการผลิตสินค้าที่มีจำนวนการจ้างงานเกินกว่าห้าสิบคนแต่ไม่เกินสองร้อยคน หรือมีรายได้ต่อปีเกินกว่าหนึ่งร้อยล้านบาทแต่ไม่เกินห้าร้อยล้านบาท

2) กิจการให้บริการ กิจการค้าส่ง หรือกิจการค้าปลีกที่ มีจำนวนการจ้างงานเกินกว่าสามสิบคน แต่ไม่เกินหนึ่งร้อยคน หรือมีรายได้ต่อปีเกินกว่าห้าสิบล้านบาทแต่ไม่เกินสามร้อยล้านบาท

(3) วิสาหกิจชุมชน (ตามคำจำกัดความตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548) หมายถึง กิจการของชุมชนเกี่ยวกับการผลิตสินค้า การให้บริการ หรือการอื่น ๆ ที่ดำเนินการโดยคณะบุคคลที่มีความผูกพัน มีวิถีชีวิตร่วมกันและรวมตัวกันประกอบกิจการดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคลในรูปแบบใดหรือไม่เป็นนิติบุคคล เพื่อสร้างรายได้และเพื่อการพึ่งพาตนเองของครอบครัว ชุมชนและระหว่างชุมชน 

การติดต่อสื่อสารระหว่างการดำเนินโครงการ

ตารางการเรียน

การอบรมให้ความรู้ด้านธุรกิจเบื้องต้น 30 ชั่วโมง ประกอบด้วยการพัฒนาแนวคิดธุรกิจเพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายและคุณค่าผลิตภัณฑ์ การวิเคราะห์ตลาดคู่แข่งขัน เพื่อเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ การกำหนดโมเดลรายได้ และการวิเคราะห์โมเดลธุรกิจ (Business Model Canvas) 

โมลดู 1: การทบทวนแนวคิดด้านการขับเคลื่อนธุรกิจนวัตกรรม

ครั้งที่ 1 (23.4.67) ทบทวนต้นแบบสินค้า (เชิงปัญหาและเทคโนโลยี) (ดร.ทัศนีย์วรรณ ลักษณะโสภิณ)

เอกสารประกอบการเรียน 

ข้อมูลประกอบ: พื้นที่ส่งงานโมเดลธุรกิจ

ครั้งที่ 3 (7.5.67) ความเสี่ยงทางธุรกิจและการประเมินความเสี่ยง (ผศ.ดร.ปฏิภาณ แซ่หลิ่ม)

ครั้งที่ 4 (13.5.67) การพัฒนางบการเงินล่วงหน้าเพื่อประเมินธุรกิจ (ผศ. ดร. ปารเมศ วรเศยานนท์)

โมลดู 2: การเข้าใจลูกค้าและการตรวจสอบความสามารถทางการตลาด

ครั้งที่ 6 (27.5.67) การเก็บข้อมูลลูกค้า (พฤติกรรมและปัจจัยกระตุ้นการตัดสินใจ) และการใช้ข้อมูลลูกค้าเพื่อการวางแผนการเข้าตลาด (ผศ. ดร. ปารเมศ วรเศยานนท์)

ครั้งที่ 2 (29.5.67) การระบุประเมินความสามารถในการแข่งขัน เงื่อนไขสภาพแวดล้อมภายนอก และศักยภาพด้านทรัพยากรภายในเพื่อการแข่งขัน (รศ.ดร.มฑุปายาส ทองมาก)

ครั้งที่ 7 (4.6.67) การประเมินตลาดและการวางแผนทางการตลาดเพื่อกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจ (ผศ. ดร. ปารเมศ วรเศยานนท์)

โมลดู 3: การผลิตและโลจิสติกส์

ครั้งที่ 8 (10.6.67) การการผลิตและวางแผนด้านโลจิสติกส์  (รศ.ดร.ชุมพล มณฑาทิพย์กุล) 

โมลดู 4: การเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ

ครั้งที่ 9 (17.6.67) การเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ (ผศ. ดร. ปารเมศ วรเศยานนท์)

โมลดู 5: การพัฒนาโมเดลธุรกิจและแผนธุรกิจที่จะขับเคลื่อนสินค้าหรือบริการนวัตรกรรมเข้าสู่ตลาด

ครั้งที่ 10 (1.7.67) ทบทวนโมเดลธุรกิจ (ดร.ทัศนีย์วรรณ ลักษณะโสภิณ)

เอกสารประกอบการเรียน 

ข้อมูลประกอบ

ตารางการให้คำปรึกษา

การได้รับคำปรึกษาเชิงลึกด้านโมเดลธุรกิจ 3 ด้านหลัก ได้แก่ ด้านการตลาด (การสำรวจตลาดกลุ่มเป้าหมาย เพื่อการวางแผนการตลาด) ด้านการเงิน (วิเคราะห์ต้นทุนค่าใช้จ่าย เพื่อวางแผนงบการเงิน) และด้านโมเดลธุรกิจ (การจัดทำแผนธุรกิจเบื้องต้นเพื่อประเมินความเป็นไปเชิงธุรกิจ)

Date

Topics

Materials

20.5

การให้คำปรึกษา (ครั้งที่ 2 โมเดลทางการเงินและแนวทางการพัฒนาตลาด)

CLIP | NOTE

15.7

การให้คำปรึกษา (ครั้งที่ X)

CLIP | NOTE

5.8

การให้คำปรึกษา (ครั้งที่ X)

CLIP | NOTE

19.8

การให้คำปรึกษา (ครั้งที่ X)

CLIP | NOTE

26.8

การให้คำปรึกษา (ครั้งที่ X)

CLIP | NOTE

ติดต่อคณะที่ปรึกษา

Consultant:         Asst. Prof. Dr. Parameth Voraseyanont (ผศ. ดร.ปารเมศ วรเศยานนท์)

Office:             Building 5 (CB5), 8th floor

Phone:             +66 999191598

Email:       Parameth.vor@kmutt.ac.th