สรุปเทคนิคการเขียนบทความสำหรับมือใหม่

"CRAFT LAB: Make every technology commercialised"

LinkFacebookLinkYouTube

สรุปเทคนิคการเขียนบทความสำหรับมือใหม่

ผศ.ดร. ปารเมศ วรเศยานนท์ 

บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 

ไฮไลต์


สำหรับนักเขียนบทความมือใหม่เพื่อสร้างบลอค เพื่อสร้างเนื้อหาสำหรับสื่อออนไลน์หรือเพื่อการเริ่มเขียนบทความหรือหนึงสือสั้นๆ สามารถทำได้ไม่ยากเลยหากทราบเทคนิคที่นักเขียนส่วนมากไม่ค่อยอยากบอกให้รู้ ซึ่งโดยสาระสำคัญแล้วก็สรุปได้ว่าต้องมี 4 ส่วน อันได้แก่

(1) การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน ว่าจะเขียนบทความไปเพื่ออะไร (เช่น ต้องการโฆษณา ต้องการเปลี่ยนความคิด ต้องการให้ความรู้) และคนอ่านได้อะไร

(2) กลุ่มเป้าหมาย คือการสรุปให้ได้ว่ากลุ่มคนอ่านเป็นใคร โดยอาจพิจารณาจาก 2 ส่วนหลักได้แก่ 

(3) การพัฒนาบทความ เป็นการพัฒนาการเล่าเรื่องของบทความ ซึ่งอาจจะใช้รูปแบบอย่างง่าย เช่น สูตรการเขียนบทความอย่างง่ายสามลำดับ (ที่จะอธิบายต่อไปหรือรูปแบบการเล่าเรื่องอื่นๆ ที่สามารถอ่านเพิ่มได้ที่นี่

(4) กลยุทธ์สื่อเพื่อการกระจายบทความ เป็นการพิจารณาถึงแหล่งกระจายบทความ (เช่น เว็บไซต์ของท่าน สื่อสังคมออนไลน์ บลอคสาธารณะ) ความถี่ในการลงบทความ (วันละครั้ง เดือนละครั้ง) รูปแบบของสื่อ (วีดีโอ บทความ พอทแคส รูปภาพ เสียง ไลฟ์)  


เริ่มเขียนบทความอย่างง่ายด้วยสูตรการเขียนบทความอย่างง่ายสามลำดับ

การเขียนบทความอย่างง่ายด้วยสูตรการเขียนบทความอย่างง่ายสามลำดับนั้น สามารถแบ่งลำดับการเขียนได้ ดังนี้

(1) จุดเริ่มต้น (Introduction) อาจจะเริ่มต้นจากที่มาที่ไป แนะนำตัว หรือแม้แต่การตั้งคำถาม กระบวนการ ความล้มเหลว เช่น อยากลองใช้ชีวิตแบบลูกสาวเจ้าสัวพันล้านในไทย 1 วัน

(2) ใจความ (Body) เป็นการแบ่งย่อยหัวจุดเริ่มต้นหรือสิ่งที่ต้องการสื่อสาร และเขียนขยายหัวข้อเหล่านั้น เช่น (จากจุดเริ่มต้น (1)) ลูกสาวเจ้าสัวพันล้านมีใครบ้าง กิจกรรมของลูกสาวเจ้าสัวคืออะไร เรื่องงาน เรื่องกิน เรื่องเที่ยว เรื่องการพัฒนาตนเอง และเรื่องวิธีคิด ถ้าจะลองต้องใช้เงินเท่าไหร่ต่อวัน แนวทางการได้มาซึ่งเงินใช้ชีวิตแบบลูกสาวเจ้าสัว สิ่งที่เรียนรู้ 

(3) ปิดจบ (Ending) เป็นการสรุป ทบทวนประเด็นสำคัญ หรือตอบคำถามที่ตั้งไว้ (อย่าลืมเชื่อมโยงกับจุดเริ่มต้นและใจความ)


การวางแผนการเขียนบทความ

ก่อนเขียนบทความอาจจะต้องมีการวาง 'แนวทาง' ในการเขียนบทความแต่ละครั้ง ดังนี้

(1) วัตถุประสงค์การเขียน: _____________________________________________________

(2) กลุ่มเป้าหมาย: ______________________________________________________________

(3) สื่อที่จะลง: ___________________________________________________________________

(4) โครงสร้างเนื้อความ: 


ทดลองคิด

จงสร้างบทความขายที่ดริปกาแฟ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็น ผู้ชายหรือผู้หญิง อายุ 25-45 ปี พนักงานบริษัทขนาดใหญ่ในกรุงเทพและปริมณฑล สนใจกาแฟเฉพาะทาง และทำกาแฟทานเองเป็นกิจกรรมอดิเรกในวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ 

(1) วัตถุประสงค์การเขียน: _____________________________________________________

(2) กลุ่มเป้าหมาย: ______________________________________________________________

(3) สื่อที่จะลง: ___________________________________________________________________

(4) โครงสร้างเนื้อความ: 


ประเภทเนื้อหาที่ได้รับความนิยม

ประเภทเนื้อหาที่ได้รับความนิยมสามารถแบ่งออกเป็น 9 หมวด ซึ่งท่านสามารถลองค้นหาข้อมูลเรื่องเหล่านี้และลองเขียนบทความตามหมวดหมู่นี้ได้เลย


แถมให้ 

สถานที่ปล่อยเนื้อหา

สถานที่ที่จะช่วยเก็บและกระจายเนื้อหาให้ท่านตามวัตถุประสงค์ด้านความชอบส่วนตัวหรือเรื่องของการพัฒนาแบรนด์ สามารถทดลองใช้ได้ที่ Wordpress, Medium, Blogger หรือ Facebook note.

การแทรกรูปภาพ

สำหรับบลอคที่ต้องการแทรกรูปภาพ สูตรง่ายๆ ว่าต้องใส่รูปภาพเท่าไหร่คืออย่างน้อย 1 รูปต่อ 350 คำ รูปประกอบไม่ผิดลิขสิทธิ์สามารถหาได้ที่ IM Creator, Stocksnap.io, lifeofpix และ unsplash

ตัวอย่างหัวข้อที่เริ่มได้ทันที

หากมีข้อคิดเห็นหรือเสนอแนะใดๆ ทักมาคุยกัหรือแอดมาเป็นเพื่อนกันที่ https://www.facebook.com/kmuttentrepreneurship/ 


หลักสูตรการจัดการการเป็นผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม (#EPM) เป็นหลักสูตรภายใต้การกำกับดูแลของบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม (#GMI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (#KMUTT)


สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ (02) 470-9795-6, 084-676-5885

LINE : @GMIKMUTT

หรือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://gmi.kmutt.ac.th/master_program

สนใจสมัครได้ที่ https://bit.ly/GMI_Apply 

#GMI #KMUTT #EPM

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

สำหรับท่านที่ต้องการต่อยอดความรู้ระดับ 'ปริญญาโท' ด้านความเป็นผู้ประกอบการนวัตรกรรมสามารถคลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม

เพิ่มเราเป็นเพื่อนในเฟสบุ๊คเพื่อรับข่าวสารและข้อมูลต่อยอดความเข้าใจ

[กดที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อน]

เรื่องที่น่าสนใจอื่น