ภาษีเล่มเดียวดียังไง...ไปดู
"CRAFT LAB: Make every technology commercialised"
ภาษีเล่มเดียวดียังไง...ไปดู
เรียบเรียงโดย ผศ. ดร. ปารเมศ วรเศยานนท์
บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
หากท่านมีการวางแผนว่าจะเติบโตหรือวางแผนเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ (เปลี่ยนความคิดจากเถ้าแก่เป็นองคืกรยั่งยืน) การมีภาษีเล่มเดียวมีความสำคัญมาก เนื่องจากมีความเสี่ยงด้านภาษีอาการมากหากมีบัญชีหลายชุดและส่งผลต่อยความยุ่งยากและความโปร่งใส
นอกเหนือจากนั้นยังมีกฎหมายที่จำกัดสิทธฺ์บริษัทที่ใช้บัฯชีหลายเล่ม เช่น 'พระราชกำหนดยกเว้นและสนับสนุยนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากร ตามประมวลรัษฏากร พ.ศ. 2558' ซึ่งดำหนดให้สถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การกำหับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทยใช้งบการเงินของบริษัทที่แสดงต่อกรมสรรพากรในการยื่นภาษีเป็นหลักฐานในการทำธุรกรรมงทางการเงินและการขออนมัติสินเชื่อกับสถาบันการเงิน
ในระดับประเทศการใช้บัญชีชุดเดียวคิอการที่ทางรัฐบาลจะสามารถนำไปวิเคราะห์เพื่อออกมาตรการช่วยเหลือได้ตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการ สอดคล้องนโยบาย E-payment และส่งเสริมการนลงทุน
ประโยชน์ของบัญชีชุดเดียวสำหรับผู้ประกอบการ
มีข้อมูลทางการเงืนที่สอดคล้องกับสภาพที่แก้จริงของกิจการและช่วยแก้ปัญหาได้ตรงจุด
เป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการวางแผนธุรกิจของเจ้าของกิจการ
มีงบการเงินที่มีความโปร่งใส น่าเชื่อถือ ตรวจสอบได้ และเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบ
ช่วยลดต้นทุนดอกเบี้ย หรือการค้ำประกันเงินกู้ยืม (จากนโยบายรัฐและสภาบันการเงิน เช่่น มาตรการจากกรมสรรพาการตั้งแต่ก่อนปี 2563)
เพิ่มโอกาสในการแข่งขันทางธุรกิจ
ประหยัดเวลาและความยุ่งยากในการทำงานจากการต้องทำบัญชีหลายชุดหรือมีข้อมูลหลายแหล่ง
ความเสี่ยงจากการไม่ทำบัญชีชุดเดียว
มีความเสี่ยงต่อการถูกตรวจสอบภาษีย้อนหลัง (สรรพากรอาจประเมินให้เสียภาษีเงินได้เพิ่ม พร้อมทั้งเบี้ยปรับ (1 เท่า) และเงินเพิ่ม (1.5% ต่อเดือน) รวมทั้งโทษทางอาญา) นอกเหนือจากนั้นหากบริษัทมีการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภาษีขาย) ก็จะโดนปรับภาษีที่ชำระขาด 2 เท่า รวมถึงเงินเพิ่มร้อยละ 1.5% ต่อเดือน
เข้าถึงแหล่งเงินทุนยาก (เนื่องจากงบการเงินไม่สามารถสะท้องศักยภาพของกิจการ)
ขาดการพัฒนา ไม่สามารถเติบโตได้อย่างที่ควรจะเป็นและเสียโอกาสทางธุรกิจ
เสีบสิทธิประโยชน์ทั้งด้านการเงินและภาษี (ที่ภาครัฐจัดให้สำหรับกิจการที่จัดทำบัญชุดเดียว)
ปรับตัวไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง (ผู้ประกอบการต้องใช้งบการเงินที่แสดงต่อกรมสรรพากรเป็นหลักฐานในการทำธุรกรรมทางการเงินและขออนุมัติสินเชื่อกับสถาบันการเงิน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคา 2562)
ปัจจัยที่สรรพากรจะสามารถตรวจพบความผิดปรกติของกิจการ
ส่วนสินทรัพย์ (ใช้เงินสดเป็นหลัก (โดยปรกติบริษัทน่าจะใช้เงินเชื่อหรือเช็คมากกว่า) สินค้าคงเหลือไม่ถูกต้อง) ไม่มีทรัพย์สินหรือมีมากผิดปรกติ (เช่น เอาสินทรัพย์ส่วนตัวมาใส่ในบริษัท)
ส่วนหนี้สินและทุน (มีเงินกู้ยืมจากกรรมการมากเกินไปและไม่สามารถชี้แจงได้ แสดงบัญชีที่ขาดทุนสะสมเป็นเวลานาน)
ส่วนรายได้ (บันทึกรายได้ไม่ถูกต้อง หรือบันทึกรายได้ไม่ครบถ้วน)
หากมีข้อคิดเห็นหรือเสนอแนะใดๆ ทักมาคุยกัหรือแอดมาเป็นเพื่อนกันที่ https://www.facebook.com/kmuttentrepreneurship/
หลักสูตรการจัดการการเป็นผู้ประกอบการ นวัตกรรม และความยั่งยืน (#EPM) เป็นหลักสูตรภายใต้การกำกับดูแลของบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม (#GMI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (#KMUTT)
สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ (02) 470-9799, (02) 470-9795-6, 084-676-5885
LINE : @GMIKMUTT
หรือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://gmi.kmutt.ac.th/th/study-with-us/epm/
สนใจสมัครได้ที่ https://bit.ly/GMI_Apply
CRAFT LAB เตรียมความพร้อมในการพัฒนานักวิจัยให้เป็นผู้จัดการผลิตภัณฑ์ที่สามารถมีทักษะและความรู้ที่ควรเป็น อย่างมีผลลัพธ์ สนใจทักมาคุยกับได้ที่ Line: @061jlshn หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
สำหรับท่านที่ต้องการต่อยอดความรู้ระดับ 'ปริญญาโท' ด้านความเป็นผู้ประกอบการนวัตรกรรมสามารถคลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
เพิ่มเราเป็นเพื่อนในเฟสบุ๊คเพื่อรับข่าวสารและข้อมูลต่อยอดความเข้าใจ
เรื่องที่น่าสนใจอื่น