การสร้างยอดขายทางด้านการตลาดสำหรับธุรกิจด้านแพลทฟอร์ม

NIA x KX BUILD x GMI 

LinkFacebookLinkYouTube

รู้จักกันก่อน

โมเดลทางธุรกิจ

โมเดลทางธุรกิจ คือขอบเขตการดำเนินการของท่านที่จะทำให้ธุรกิจของท่านอยู่รอดได้  โมเดลธุรกิจจะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ (1) ส่วนของกระบวนการในการสร้างคุณค่า และ (2) ส่วนของการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและการสร้างรายได้

ส่วนของกระบวนการในการสร้างคุณค่า 

ในส่วนของการสร้างคุณค่านั้นเป็นกระบวนการในการสร้างคุณค่า (ผ่านการพัฒนาสินค้าหรือบริการที่ตอบสนองคุณค่าเชิงกายภาพหรือเชิงจิตวิทยาแก่กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย) โดยในส่วนนี้จะเดี่ยวข้องกับ 4 องค์ประกอบสำคัญ อันได้แก่

ส่วนของการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและการสร้างรายได้

เป็นส่วนของการส่งมอบคุณค่าให้กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย โดยแบ่งได้เป็น 4 องค์ประกอบสำคัญ อันได้แก่

การเข้าใจโมเดลการดำเนินการองค์กรจะทำให้สามารถพิจารณาได้ว่าวันนี้องค์กรทำอะไรอยู่ ต้องเกี่ยวข้องกับใครบ้างเพื่อสร้างคุณค่า และถ้าจะแข่งขันต่อเนื่องต้องทำอย่างไร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธ์กิจ วิสัยทัศน์ และค่านิยมขององค์กรด้วย

[ตัวต้นแบบ | รายละเอียดและตัวอย่าง | คลิกที่นี่เพื่อเอกสารประกอบกิจกรรม]

คุณค่าธุรกิจ/สินค้า

การที่ธุรกิจหรือสินค้าของท่านจะเข้าถึงหรืออยู่ในตลาดได้ (สินค้าหรือบริการตอบสนองความต้องการได้) จำต้องมี 'คุณค่า' ต่อกลุ่มบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง (ซึ่งจะเป็นกลุ่มที่มีความต้องการต่อสินค้าเป็นประจำ ต่อเนื่อง และเป็นเป็นแหล่งรายได้สำคัญ) 

คุณค่าของสินค้าและบริการมาจากองค์ประกอบของสินค้า บริการหรือการสร้าง 'คุณค่า' ที่จับต้องไม่ได้ให้เชื่อมโยงกับสินค้า (เช่น ตราสินค้าที่จะสร้างคุณค่าในด้านการได้รับการยอมรับจากสังคม หรือการสร้างความเชื่อมั่นต่อคุณภาพหรือการลดความเสี่ยง) 

คุณค่าถูกพัฒนามาจากประโยชน์ที่ได้รับจากองค์ประกอบของสินค้าหรือบริการ เช่น  กล้องวีดีโอ (CCTV) สร้างประโยชน์ในแง่ของการบันทึกภาพวีดีโอ แต่อาจจะไม่มีคุณค่าถ้าแค่บันทึกได้ เพราะคุณค่าที่ลูกค้าต้องการจากกล้องวีดีโอ (CCTV) คือการลดความกังวลและความสบายใจจากการได้เก็นการเคลื่อนไหวหรือบันทึกการเคลื่อนไหวเพื่อเป็นหลักฐาน

คุณค่าสินค้าสำหรับสินค้า B2C

คุณค่าของสินค้าและบริการ (แยกจากคุณค่าของธุรกิจ) สามารถแยกได้เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

คุณค่าสินค้าสำหรับสินค้า B2C


เพื่อให้เข้าใจแนวทางของการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและขายกลุ่มนี้ให้ได้ต้องเข้าใจนิยามของลูกค้ากลุ่มนี้สักนิด โดยพื้นฐานแล้วลูกค้ากลุ่มธุรกิจ (B2B) คือลูกค้าที่มีเป้าประสงค์ที่จะซื้อ วัตถุดิบ สินค้ากึ่งสำเร็จ และสินค้าสำเร็จ เพื่อวัตถุประสงค์ด้านการพาณชย์ (ซื้อมาขายไป) และด้านการผลิต (อุตสาหกรรม)


คุณค่าของสินค้าหรือบริการที่กลุ่มลูกค้าธุรกิจมองหา


ลูกค้ากลุ่มธุรกิจโดยมากจะมองหาสินค้าหรือบริการที่ช่วยสร้างคุณค่าเชิงธุรกิจและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจเขามากขึ้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 9 ด้าน ดังนี้

คุณค่าของสินค้าและบริการเหล่านี้ไม่ใช่ทุกกลุ่มเป้าหมายจะให้ความสำคัญ หรือให้ความสำคัญเท่ากัน ดังนั้นจึงต้องมีการระบุกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนเพื่อทราบได้ว่าคุณค่าที่คาดหวังจากลูกค้าเป็นเพียงประโยชน์จากสินค้าหรือต้องการได้รับคุณค่าจากสินค้า ซึ่งแนวทางการส่งมอบและการสร้างคุณค่า (ผ่านสินค้า บริการ และการจัดการองค์ประกอบ) จะแตกต่างกัน

กิจกรรม: ย้อนกลับไปดู BMC ของท่านและพิจารณาสักนิดว่าวันนี้สินค้าหรือบริการของท่านส่งมอบคุณค่าใดให้กับลูกค้า? 

กลุ่มเป้าหมายทางการตลาด (ลูกค้า)

ไฮไลต์


กระบวนการในการระบุกลุ่มตลาดโดยปรกติจะแบ่งออกเป็น 2 ลำดับอันได้แก่ 1. การแบ่งส่วนตลาด และ 2. การระกลุ่มเป้าหมายทางการตลาด ดังนั้นถ้าจะตอบให้ได้ว่าจะต้องเลือกกลุ้มเป้าหมายอบ่างไรให้ตรงเป้า จะต้องดู 2 ส่วนนี้ก่อน

การแบ่งกลุ่มตลาด

การแบ่งกลุ่มตลาดเป็นการมองว่าสินค้าหรือบริการของเรานั้นน่าจะมีกลุ่มผู้ใช้ไหนที่เป็นกลุ่มที่เหมาะสมต่อสินค้าเราบ้าง และจึงค่อยๆ กรองว่าแต่ละกลุ่มนั้นเป็นอย่างไร กระบวนการนนี้ว่า 'การแบ่งกลุ่มตลาด' แต่ยังไม่ได้เป็นการระบุว่าเป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย การแบ่งกลุ่มตลาดสามารถแบ่งได้หลายมิติ ดังนี้

การแบ่งกลุ่มตลาดนั้นสามารถเลือกมิติต่างๆ ที่กล่าวมาอย่างใดอย่างหนึ่งหรือมากกว่ามิติใดมิติหนึ่งก็ได้ อย่างไรก็ดีจำเป็นต้องแบ่งแล้วต้องมีความชัดเจนว่า 'หาคนแบบนี้ได้ที่ไหน' ถ้ายังระบุไม่ได้ชัดเจนหรือระบุแล้วมีความซ้อนมากให้ลองแบ่งย่อยจากกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นอีกระดับ เช่น แบ่งออกมาเป็นคนที่มีความสนใจด้านสุขภาพ แต่ในกรณีนี้ยังกว้างอยู่ไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าคนที่รักสุขภาพอยู่ที่ไหนและจะสังเกตุหาได้อย่างไร ถ้าเป็นอบบนี้จำเป็นต้องเแบ่งย่อยกลุ่มคนรักสุขภาพลองมาอีก เช่น คนรักสุขภาพ สามารถแบ่งได้เป็น คนเล่นกล้าม คนต้องหุ่นที่ดี คนที่ทานเจหรือมังสวิรัส กลุ่มคนที่มีปัญหาด้านสุขภาพ  

ตัวอย่างการแบ่งกลุ่มตลาด

เมื่อแบ่งกลุ่มเป้าหมายได้จัดเจนแล้วจึงจะมาพิจารณาว่ากลุ่มไหนที่เหมาะสมหรือมีความน่าสนใจในการเลือกให้เป็นกลุ่มเป้าหมายบ้าง ที่สำคัญคือกลุ่มตลาดที่ดีจะต้องระบุตัวตนได้ (ทราบว่าลักษณะเป็นใคาร) และวัดขนาดประชากรได้ 

การเลือกกลุ่มเป้าหมาย

การแบ่งกลุ่มตลาดจะทำให้เราประเมินได้ว่ากลุ่มตลาดไหนที่เรามีความสามารถในการเข้าถึง รวมถึงการประเมินเงื่อนไขในการเข้าถึงกลุ่มตลาดนั้นว่าดีเพียงพอหรือไม่ โดยพิจารณาจาก

เมื่อนำกลุ่มตลาดแต่ละกลุ่มเข้ามาประเมินตามเงื่อนไขแล้วน่าจะสามารถแบ่งกลุ่มเป้าหมายออกได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ 

ใครคือกลุ่มเป้าหมาย?

จาก 4 กลุ่มนี้ (ในหัวข้อการเลือกกลุ่มเป้าหมาย) กลุ่มที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่บริษัทควรให้ความสำคัญและลงทุนทางการตลาดคือกลุ่มที่ 1 ส่วนกลุ่มอื่นนั้นอาจพิจารณาเพิ่มความสามารถของบริาัทเพื่อเข้าถึง คอยให้กลุ่มตลาดมีความชัดเจน แหรือพิจารณาโยกเงินลงทุนทางการตลาดจากกลุ่มที่ไม่เติบโตมากลุ่มที่ 1 แทน

การเก็บข้อมูลทางการตลาด

ไฮไลต์

(1) ข้อมูลประชากรศาสตร์ 

(2) ข้อมูลกิจกรรม ความสนใจ และทัศนคติต่อเรื่องต่างๆ 

(3) การจัดกลุ่มประเภทสินค้า เป้าหมายการใช้สินค้าหรือบริการและคุณค่าที่ได้รับจากสินค้า ปัจจัยเปรียบเทียบ ทางเลือกผลิตภัณฑ์ (และผู้ผลิต) ความแตกต่าง 

(4) กระบวนการตัดสินใจ (รู้จักสินค้าได้อย่างไร หาข้อมูลจากไหน เงื่อนไขการตัดสินใจมีอะไรบ้าง ซื้อสินค้าจากที่ไหนในเงื่อนไขอะไรเพราะอะไร ตัดสินใจซื้อด้วยอะไร ทำอะไรบ้างหลังซื้อ) 

(5) ในการตัดสินใจซื้อสินค้ากังวลเรื่องอะไรบ้าง (มิติการเงิน ประสิทธิภาพ ความปลอดภัย ...) และ 

(6) ปัจจัยทางการตลาดที่กระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจ 


การเก็บข้อมูลทางการตลาดเป็นกระบวนการสำคัญในการพัฒนาและออกแบบผลิตภะณฑ์ เพราะสินค้าหรือบริการที่ดี จะต้อง "เป็นประโยชน์กับสังคม และสังคมถึงจะเข้ามาซื้อหรือใช้สินค้า ซึ่งจะนำไปสู่การได้รับผลตอบแทน" ดังนั้นเพื่อให้ได้ข้อมูลที่จะช่วยตรวจสอบและพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยไม่ใช่แค่ตัวผู้พัฒนาเองจะมองว่าเป็นประโยชน์กับคนอื่น ลองพิจารณาถึงการเก็บข้อมูลผู้ใช้/ผู้ตัดสินใจ โดยกรอบการเก็บข้อมูลโดยสังเขบมี 5 ประเด็น ดังนี้


หมายเหตุ เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลอย่าลืมตรวจสอบคุณภาพก่อน

ปัจจัยเปรียบเทียบเพื่อการตัดสินใจ

เมื่อลูกค้ามีข้อมูลที่พอสมควรแล้ว ลูกค้าจะสามารถระบุปัจจัยเปรียบเทียบเพื่อการตัดสินใจได้ (Point of parity)  เช่น จะซื้อคอมพิวเตอร์ ต้องดูว่า CPU ต้องแรงเท่าไหร่ มีแรมเท่าไหร่ มีความจุเท่าไหร่ เป็นทัสกรีน หรือไม่ และราคาเท่าไหร่ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ลูกค้าพัฒนามาเพื่อให้ประเมินและเปรียบเทียบระหว่างตราสินค้า

สิ่งที่นักการตลาดต้องพิจารณาคือ ลูกค้าประเมินเปรียบเทียบด้วยปัจจัยอะไร อย่างไรก็ดี ปัจจัยเปรียบเทียบนี้อาจจะไม่ใช้ปัจจัยในการตัดสินใจสุดท้ายเนื่องจากว่า ปัจจัยกระตุ้นการตัดสินใจอจะไม่ใช่กรอบการพิจารณาได้

กระบวนการตัดสินใจและพฤติกรรมการซื้อของลูกค้า

ปัจจัยกระตุ้นทางการตลาด

ผู้ประกอบการหลายท่านต้องการทราบว่าจะกระตุ้นให้ 'ลูกค้า' หรือ 'ว่าที่ลูกค้า' มาซื้อหรือใช้สินค้าได้อย่างไร?  ถ้าเอามุมมองทางการตลาดมามองหลายท่านก็อาจจะว่า สี่พี (4Ps) ใช่ไม้ คำตอบคือใช่แหละส่วนหนึ่ง เพียงแต่วันนี้ท่านได้เข้าใจอย่างจริงจังหรือไม่ว่าต้องมองมิติอะไรของ (4Ps) บ้าง 


ท้าวความให้นิดหนึ่งสำหรับคนที่ไม่คุ้นเคยกับ สี่พี (4Ps) สำหรับการตลาดนั้น สี่พี (4Ps) เป็นปัจจัยกระตุ้นให้ผู้บริโภค ตัดสินใจซื้อสินค้าจากผู้ผลิต (หากท่านเป็นผู้ให้บริการจะต้องใช้ เจ็ดพี (7Ps)) สำหรับ สี่พี (4Ps) นั้นประกอบด้วยปัจจัยกระตุ้นด้าน สินค้า (Product) ราคา (Price) ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) และ การส่งเสริมการขาย (Promotion) 


หากจะประยุกต์ใช้จริงการทราบแค่ปัจจัยกระตุ้นทางการตลาดหลักๆ สี่พี (4Ps) นี้อาจจะไม่เพียงพอ วันนี้ขอใส่รายละเอียดให้เพิ่มเพื่อจะได้เอาไประบุและหาแนวทางใช้ปัจจัยกระตุ้นเหล่านี้ในการไปสร้างโอกาสทางการตลาดให้มากขึ้น 


ปัจจัยกระตุ้นด้านสินค้า


ปัจจัยกระตุ้นด้านราคา


ปัจจัยกระตุ้นด้านช่องทางการจัดจำหน่าย


ปัจจัยกระตุ้นด้านการส่งเสริมทางการตลาด


ปัจจัยกระตุ้นเหล่านี้เป็นปัจจัยพื้นๆ ในการทำการตลาดสินค้าให้กับผู้บริโภคที่เป็นลูกค้าสุดท้ายหรือกลุ่มผู้ซื้อพาณิชย์ ท่านสามารถเอาปัจจัยย่อยเหล่านี้มาคิดเป็นแนวทางในบการทำตลาดของท่านนะครับ 

ความเสี่ยงที่ลูกค้าพิจารณาในการตัดสินใจ

ในกระบวนการตัดสินใจลูกค้าจะมีประเด็นความเสี่ยงที่พิจารณา ซึ่งสามารถสังเกตุได้ เช่น หลายครั้งลูกค้าเดินมาที่ร้านและเหมือนว่าเขาจะซื้อและแต่ก็ยังไม่ซื้อ หรือหลายครั้งเขาสัญญาจะซื้อแต่ก็ไม่ติดต่อกลับมา จริงๆ แล้วเขาเจอที่อื้่นที่ถูกกว่าเหรอ? แต่หลายครั้งก็ไม่เห็นเขาไปตัดสินใจซื้อที่ไหน และก็เดิมมาคุยกับเราอีกและก็ยังไม่ซื้ออีก เอ๊ะ...ยังไง! 


ความกลัวคือสิ่งหนึ่งที่หยุดให้ลูกค้ายังไม่ตัดสินใจซื้อ ณ จุดนั้น ทำให้ลังเล ถึงแม้ว่ามีความตั้งใจจะซื้อแล้ว วันนี้มาคุยกันเรื่องควากลัวของลูกค้าต่อการซื้อของที่ถ้าท่าน (ผู้ประกอบการ) รู้แล้วไปหาทางแก้ รับรองไม่ผิดหวัง 


'ความเสี่ยง' ที่ทำให้ลูกค้าลังเลและไม่ตัดสินใจซื้อทันที ประกอบด้วย 6 ความเสี่ยง ได้แก่


(1) ความเสี่ยงด้านการเงิน เป็นความกังวลว่าการใช้เงินในครั้งนี้จะกระทบกับความจำเป็นเรื่องอื่นหรือไม่ อย่างไร (ทำให้ยังชลอการตัดสินใจ) - "ควรเอาเงินไปทำอย่างอื่นก่อนหรือไม่ หรือมีเงินเพียงพอหรือไม่ถ้ามีค่าใช้จ่ายแบบนี้และต้องจ่ายต่อเนื่อง"


(2) ความเสี่ยงด้านคุณภาพ (เชิงกายภาพ) เป็นความกังวลว่าสินค้าที่จะซื้อมาจะไม่ได้คุณภาพตามมาตรฐาน หรืออาจทำให้เกิดอันตรายจากการใช้งาน (ทำให้อาจะต้องกลับไปหาข้อมูลเพิ่ม) - "สินค้านี้จะไม่ระเบิดระหว่างใช้ใช่หรือไม่ น่ากังวล"


(3) ความเสี่ยงด้านประสิทธิภาพ (ผลการใช้งาน) เป็นความกังวลว่าสิ่งที่ซื้อมาจะไม่สามารถทำงานได้ (หรือได้รับประโยชน์) อย่างที่คาดหวัง (ทำให้อาจะต้องกลับไปหาข้อมูลเพิ่ม) - "ซื้อมาและจะใช้ได้อย่างที่เขาบอกหรือไม่ เจอจริงๆ แล้วมันไม่น่าจะได้นะ"


(4) ความเสี่ยงเชิงสังคมและจิตวิทยา เป็นความเสี่ยงจากการที่สินค้าหรือบริการจะทำให้ผู้ใช้ เสียความมั่นใจ จากการซื้อสินค้าหรือบริการมา - "ซื้ออันนี้ดิเหมาะกันผู้ใหญ่ เขาจะได้ไม่ว่าเอา"


(5) ความเสี่ยงด้านเวลา เป็นความกังวลใจว่าจะต้องเสียเวลาจากความยุ่งยาก ถ้าสินค้าหรือบริการไม่สามารถสร้างประโยชน์ได้ตามความคาดหวัง (ซึ่งอาจเกิดได้จากการคอยบริการ การเข้ากันไม่ได้ของสินค้ากับสิ่งที่มีอยู่ หรือสถานะ หรือด้านคุณภาพ) - "ซื้ออันนั้นไปก็ต้องมาลุ้นอีกว่าเขาจะมาติดตั้งให้เมื่อไหร่ มันเสียเวลารอ"


(6) ความเสี่ยงด้านการดูแลหลังการขาย เป็นความกังวลใจว่าสินค้าที่ได้หากไม่เป้นไปตามที่คาดหวังและจะทำยังไรกับสินค้า บริการ หรือข้อผูกมัดที่เกี่ยวข้อง


แนวทางการลดความเสี่ยงของลูกค้า


ดังนั้นการที่ลูกค้าจะลดความ 'กลัว' จากความเสี่ยงดังเกล่าเหล่านี้ เลยทำให้ลูกค้าเลือกที่จะ (1) หาข้อมูลเพิ่ม (2) กลับไปใช้ตราสินค้าที่คุ้นเคย (3) เข้าหาผู้ขายที่ไว้ใจ (4) ซื้อของที่มีราคาสูง (5) มองหาการรับประกันความเสี่ยง เช่น หาอันที่รับประกันสินค้า หรือมีให้ทดลองใช้ 


แนวทางในการจัดการความรู้สึก กังวลใจ ของลูกค้า


การจัดการความเสี่ยงหรือความกลัวของลูกค้าสามารถทำได้ 10 ด้าน โดยพื้นฐาน อันได้แก่


(1) การให้ข้อมูลอย่างละเอียด 

(2) การมีลูกค้าคนอื่นช่วยรีวิวหรือแชร์ประสบกา่รณ์

(3) การมีสิ่งที่จับต้องได้รับประกันคุณภาพ เช่น เอกสารรับประกัน สัญญา ข้อตกลง การคืนเงินหรือใช้ผู้มีความน่าเชื่อถือนำเสนอสินค้าหรือบริการ

(4) การมีสินค้าทดลองหรือให้ของแถม

(5) มีนโยบายการคืนสินค้าที่ชัดเจน และการมีทีมงานสนับสนุนหลังซื้อที่มีการตอบสนองดีและรวดเร็ว

(6) มีการแนะนำการประกอบ และการใช้งานอย่างชัดเจน 

(7) ได้รับการรับรองจากสถาบันหรือหน่วยงาน

(8) มีระบบการจ่ายเงินที่ชัดเจนและน่าเชื่อถือ

(9) สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าต่อเนื่อง และมีช่องทางให้ลูกค้าสามารถติดต่อได้ง่าย

(10) ใช้ช่องทางและคู่ค้าที่ได้รับการยอมรับ

การสร้างและการรักษาความสัมพันธ์ลูกค้า

เป้าหมายและประโยชน์

การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้ามีเป้าหมายสำคัญคือทำให้ ลูกค้า "รู้สึกคุ้มค่า" และมี "ความสำคัญที่ดีกับตราสินค้า สินค้า หรือบริการ" ทั้งนี้เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากการซื้อซ้ำ ซื้อพ่วง ซื้อเพิ่ม (และอัพระดับสินค้าซื้อ) และบอกต่อเกี่ยวกับสินค้าให้ลูกค้าอื่น

การพัฒนาวัตถุประสงค์ของการสร้างความสัมพันธ์ลูกค้า

การพัฒนาวัตถุประสงค์ทางการตลาดในมิติการสร้างความสำคัญลูกค้า สามารถแบ่งได้เป็น 3 หมวด ได้แก่

หลักการสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์

หลักการสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์สามารถแบ่งออกเป็น 7 ด้านได้แก่ 

การประเมินระดับความสัมพันธ์

ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อและตราสินค้า สินค้า และบริการ นั้นสามารถประเมินและแบ่งออได้เป็น 5 ระดับ (โดยไม่เชื่อโยงระหว่างกัน) ได้แก่

ปัจจัยสำคัญในการสร้างความสำคัญที่ดี

การเตรียมพร้อมก่อนการทำการสร้างความสัมพันธ์ลูกค้า

การเตรียมพร้อมก่อนการทำการสร้างคสามสัมพันธ์ลูกค้า เป็นส่วนที่สำคัญที่ต้องจัดเตรียมก่อนเริ่มทดำเนินการพัฒนาความสัมพันธ์ลูกค้า 

การดำเนินการผ่านรูปแบบดิจิทัล

การดำเนินการพัฒนาคววามสัมพันธ์ผ่านรูปแบบดิจิทัล สามารถแบ่งได้เป็น 5 ด้าน ได้แก่

การวัดประสิทธิภาพ

การออกแบบจุดยืนทางการตลาด

การพัฒนาตลาดและการขาย (ในรูปแบบดิจิทัล)

** อ่านเพิ่มการเขียนบทความสำหรับมือใหม่ และ สรุปเทคนิคการเล่าเรื่องด้วยวีดีโอสำหรับมือใหม่ **

** อ่านเพิ่มเติมแนวทางการพัฒนาเนื้อหาทางการตลาดเพื่อสร้างความน่าสนใจ**

แนวทางการดำเนินการ

การตั้งเป้าหมายและวัตถุประสางคต์ทางการตลาด

เป้าหมายทางการตลาดคืออะไร

เป้าหมายทางการตลาด (Marketing goals) คือ วัตถุประสงค์เฉพาะที่กำหนดไว้ในแผนการตลาด ในที่นี้หลายธุรกิจมักจะร่างออกมาเป็นแบบแผนที่ชัดเจน เพื่อให้ทีมรู้ว่าธุรกิจของเรามีเป้าหมายเป็นแบบนี้ และจะได้ช่วยกันระดมความคิดหากลยุทธ์ต่าง ๆ ที่สามารถพาให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมายนั้นให้ได้ 


ก่อนที่จะตั้งเป้าหมายทางการตลาด ควรมองสถานการณ์ปัจจุบันของธุรกิจว่ามีความต้องการหรือมีปัญหาอะไรที่อยากปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น เช่น ต้องการเพิ่มยอดขายหรือรายได้ให้กับธุรกิจ ต้องการขยายการรับรู้ของแบรนด์ (Brand Awareness) ให้มากขึ้น ต้องการเพิ่มการเข้าเยี่ยมชมให้กับเว็บไซต์ ต้องการสร้างอัตลักษณ์ให้กับแบรนด์ (Brand Identity) หรือต้องการพัฒนาระบบการดำเนินการทางการตลาดหรือการพัฒฯาความสามารถทางการตลาดผ่านการลงทุนในระบบเครือข่ายหรือคน


วัตถุประสงค์ทางการตลาดคืออะไร

วัตถุประสงค์ทางการตลาด คือ เป้าหมายที่องค์กรกำหนดขึ้นเพื่อให้เป็นทิศทางการดำเนินการทางการตลาดที่จะตอบวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ 


วัตถุประสงค์ทางการตลาดเป็นเป้าหมายในระดับการดำเนินการ (ภายใต้เป้าหมายธุรกิจ) ขององค์กรที่ต้องสามารถวัดได้ตามช่วงเวลาในการดำเนินการที่ตอบเป้าหมายทางการตลาดและทางธุรกิจ   


กรอบการพัฒนาวัตถุประสงค์ทางการตลาดอาจแยกเป็น 2 ส่วนสำคัญคือด้านรายได้ (ด้านการเงิน) และด้านกลยุทธ์ทางการตลาด (กลุ่มเป้าหมาย การพัฒนาสินค้า การจัดการด้านราคา การสื่อสารทางการตลาด การจัดการช่องทาง การอบรมพนักกงาน การปรับเปลี่ยนระบบงาน การพัฒนาเครืองมือทางการตลาด การสร้างเครือข่ายคู่ค้า คู่แข่ง การลงทุนในระบบสารสนเทศทางการตลาด เป็นต้น) 


ตัวอย่างวัตถุประสงค์ทางการตลาด



แหล่งที่มาของข้อมูลทางการตลาด

การพัฒนาวัตถุประสงค์ทางการตลาดนั้นจำเป็นต้องพิจารณาข้อมูลจาก 5 แหล่ง อันได้แก่ 

(1) วัตถุประสงค์ทางธุรกิจ  เป็นกลุ่มข้อมูลสำคัญเนื่องจากเป็นเป้าหมายที่การตลาดจำเป็นต้องขับเคลื่อนเพื่อให้วัตถุประสงค์ทางธุรกิจบรรลุเป้าหมาย


(2) ข้อมูลการดำเนินการในอดีตของหน่วยงาน เป็นกลุ่มข้อมูลที่สะท้อนประสิทธิภาพการดำเนินการว่าการดำเนินการทางการตลาดในอดีตมีอะไรที่ต้องปรับปรุงหรือไม่ เช่น ข้อมูลขาย ข้อมูลผลประเมินประสิทธิภาพตราสินค้า ข้อมูลพฤติกรรมลูกค้า (การขาย การตัดสินใจ การรับสื่อ ช่องทางรับสื่อ ปัจจัยการปิดการขาย ช่วงเวลาการซื้อ จำนวนซื้อ ประเภทสินค้าที่ซื้อ สถานที่หรือช่องทางการซื้อและรับสื่อ) เทรนสินค้า รายงานการสั่งซื้อลูกค้าประเภทธุรกิจ เงื่อนไขการตลาดที่ต้องการ


(3) ข้อมูลวิจัยทางการตลาด เป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า โดยมากประกอบด้วยลักษณะของลูกค้า พฤติสกรรมลูกค้า การตัดสินใจของลูกค้า และปัจจัยกระตุ้นทางการตลาดต่อลูกค้า


(4) ​ข้อมูลทรัพยากรด้านการตลาดขององค์กร เป็นข้อมูลทรัพยากรทางการตลาดขององค์กรที่องค์กรมีอยู่ ณ ปัจจุบัน เช่น ตราสินค้า (และสิทธิทางปัญญาที่เกี่ยวข้อง) ช่องทางการประชาสัมพันธ์ของตนเอง เครือข่ายทีมขายและเครือข่ายสื่อหรือผู้มีอิทธิพลทางความคิด หนักงานทางการตลาด (เช่น นักวางแผน นักวิเคราะห์ข้อมูล ผู้พัฒนาช่องทาง ผู้สร้างเนื้อหา) งบประมาณและระบบสารสนเทศการจัดการทางการตลาด บูท สินค้าตัวโชว์ สินค้าตัวอย่าง และข้อมูลรีวิวของลูกค้า


(5) ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางการตลาด เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกและปัจจัยอุตสาหกรรมที่ส่งผลต่อการตอบสนองในการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางการตลาดเหล่านี้ สภาพแวดล้อมทางการตลาดประกอบด้วย


กรอบการพัฒนาวัตถุประสงค์ทางการตลาด


กรอบการพัฒนาวัตถุประสงค์ทางการตลาดมีหลายเครื่องมือในการใช้งาน เช่น BASSC Model GOAT Framework 3C Model (Customer-Corporation-Competitor) HARD Model RACE Framework และ ANSOFF metrix อย่างไรก็ดีสามารถพิจารณาได้จากปัจจัย 6 ด้านดังนี้


การตรวจสอบความถูกต้องของวัตถุประสงค์ทางการตลาดที่จะสนับสนุนธุรกิจและสร้างการเติบโต


หากเท่านได้มีการตั้งวัตถุประสงค์ทางการตลาดเรียบร้อยจากกระบวข้อมูลการวิเคราะห์เพื่อพัฒนาวัตถุประสงค์ทางการตลาดจากหัวข้อก่อนหน้า ในส่วนนี้จะเป็นส่วนที่เข้ามาตรวจสอบว่าเป้าหมายทางการตลาดนั้นเหมาะสมหรือไม่โดยพิจารณา 7 ด้าน ดังนี้ 

กิจกรรม: จากเงื่อนไขธุรกิจของท่าน ท่านคิดว่าโจทย์การพัฒนาการตลาดของท่านควรเน้นและพัฒนาให้เป็นวัตถุประสงค์ทางธุรกิจอะไรบ้าง? (เอกสารชวนคิด)

แผนปฏิบัติการและงบประมาณ

ตัวอย่างการระบุช่องทางด้เนดิจิทัลในเพื่อออกแบบจุดสัมผัสลูกค้า

การวัดประสิทธิภาพ

การจัดการความเสี่ยง

ความเสี่ยงและการจัดการความเสี่ยงเป็นกระบวนการในการสร้างโอกาสและปกป้องโอกาสของของธุรกิจ การจัดการความเสี่ยงนั้นจะมีการพิเคราะห์ถึง 

ความพร้อมในการบริหารความเสี่ยง + การระบุความเสี่ยง + ความถี่ในประเด็นที่เกิดขึ้น x ระดับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น (การประเมินความเสี่ยงและวัดความรุนแรง) x กลยุทธ์การจัดการความเสี่ยง +แนวทางการติดตามความเสี่ยง

ความเสี่งประกอบด้วย 4 ด้านสำคัญได้แก่ 

 ในการจัดการความเสี่ยงนั้นจำเป็นต้องสามารถประเมินความเสี่ยงได้โดยแบ่งเป็น 4 กระบวนการ อันได้แก่ (1) การระบุความเสี่ยง (2) ความถี่ในการเกิดเหตุการณ์ที่จะกระทบความเสี่ยง และ (3) ความรุนแรงและปลกระทบของความเสี่ยง

การใช้งานตารางนั้นถ้าโอกาสจะเกิดอยู่ในระดับ 5 และผลกระทบอยู่ในระดับ 5 ระดับความเสี่ยงของท่านจะอยู่ที่ 5 X 5 ในตารางประเมินความเสี่ยง ซึ่งสิ่งที่ท่านต้องพิจารณาต่อเนื่องคือแนวงทางการจัดการความเสี่ยงนั้น ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ทางเลือกสำคัญ

 

เมื่อตัดสินใจได้แล้วให้มีการ ‘พัฒนาตัวชี้วัดด้านควสามเสี่ยง’ เช่น จำนวนตำแหน่งสำคัญในส่วนงานต่างประเทศ จำนวนความขัดแย้งกับคู่ค้าในตลาดต่างประเทศ และ ‘ติดตาม’ ผลการแก้ไขตามแผน รวมถึงวิเคราะห์ผลกระทบต่องบการเงิน (หากมีนัยยะสำคัญ)